วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553
การจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curriculum) คือ การจัดหลักสูตรเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ ที่เน้นการเชื่อมโยงประเด็นและหมวดหมู่จากเนื้อหาต่าง ๆ ทั้งหมดเข้าด้วยกัน มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์ของแต่ละองค์ประกอบใน ลักษณะเป็นหน่วยเดียวกัน ไม่แยกเป็นส่วน ๆ ให้แต่ละรายวิชาต้องเชื่อมโยงเข้ากับวิชาอื่น ๆ อย่างสัมพันธ์ต่อกันและกัน ดังนั้น กิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตรแบบบูรณาการ เน้นแนวคิดของประเด็นในสิ่งที่เป็นจริง ที่ต้องนำความรู้จากเนื้อหาวิชาต่าง ๆ มาประสานเชื่อมโยงกันและกัน แต่ไม่ได้หมายความว่า การกำหนดหลักสูตรที่บูรณาการแล้ว จะต้องนำไปจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้วยเสมอ
การสร้างหลักสูตรบูรณาการมีแนวคิดจากที่ความรู้ในปัจจุบันที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ศาสตร์แต่ละวิชาได้พัฒนาความลึกและความกว้างแตกขยายแยกย่อยเป็นสาขาเฉพาะทางกระจายออกไปอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ซึ่งเอื้อให้ความรู้ถ่ายโยงถึงกันอย่างรวดเร็ว และไร้พรมแดน จึงจำเป็นต้องสร้างความรู้ที่ทุกศาสตร์สามารถใช้ร่วมกันเพื่อเป็นความรู้กลาง และเป็นฐานเบื้องต้นของการเรียนให้อยู่เหนือสาระที่มีความเฉพาะเจาะจง ที่สำคัญพบว่าการจัดการเรียนการสอนและบูรณาการมีลักษณะที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน กล่าวคือ ปัญหาที่เราพบในแต่ละวันนั้น เราไม่อาจแก้ปัญหาได้ โดยใช้ความรู้เพียงด้านใดด้านหนึ่ง แต่ต้องนำความรู้และทักษะจากศาสตร์หลากหลายแขนงมาประกอบกัน จึงจะแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างครอบคลุม ทำให้เกิดแนวคิดว่า การเรียนรู้ในลักษณะบูรณาการน่าจะมีความสอดคล้องกับธรรมชาติการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน โดยเชื่อว่า การเชื่อมโยงความคิดรวบยอดของวิชาต่าง ๆ ที่มีในหลักสูต รจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์ใหม่ หรือเรื่องที่เรียนรู้ใหม่ได้ต่อไป
การจัดหลักสูตรแบบบูรณาการนี้ มีข้อดีที่ไม่มีการกำหนดขอบเขตในการพัฒนาความรู้ ทักษะไว้อย่างชัดเจน ผู้สอนสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนถ่ายโยงความรู้ที่ได้ไปสู่ประสบการณ์และแหล่งฝึกที่ต่างกันได้อย่างต่อเนื่องกัน แต่ในขณะเดียวกันการบูรณาการเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะไม่มีขอบเขตเนื้อหา และมโนทัศน์ที่ชัดเจน ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนอาจรู้สึกขัดแย้งกับการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ และสิ่งสำคัญ ผู้สอนในหลักสูตรบูรณาการจำเป็นต้องมีความสามารถพิเศษในการสอนแบบบูรณาการ เพื่อที่จะสอนได้สอดคล้องกับแนวคิด โดยไม่ละเลยส่วนสำคัญของหลักสูตรไป
วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552
การพัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐาน
กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐาน มีกระบวนการทำ 4 ขั้นตอน คือ
1. พัฒนากรอบโครงสร้างหลักสูตร (Curriculum framework)
เป็นขั้นตอนแรกและสำคัญยิ่งของการพัฒนาหลักสูตร วางแผนพัฒนาในระดับชาติ รัฐ เขตพื้นที่ มีรูปแบบที่หลากหลายและมีรูปแบบเฉพาะในแต่ละพื้นที่ Curry และ Temple กล่าวว่า โครงร่างหลักสูตร คือ เอกสาร หลักฐานที่มีส่วนทำให้เกิดความคิด เกี่ยวกับความรู้ ทักษะ กระบวนการ ที่ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ จากการฝึกฝน เพื่อเตรียมโครงสร้างภายใต้การจัดระบบการทำงานในส่วนต่างของหลักสูตรที่เป็นองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนในระดับสถานศึกษา กรรมการพัฒนาหลักสูตร (Curriculum committee) จะถูกแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่ยึดมาตรฐานเป็นเกณฑ์ โดยกรรมการเหล่านี้จะมาจาก ผู้บริหารสถานศึกษา บอร์ดผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และตัวแทนชุมชน เพื่อมีจุดหมายในการพัฒนาหลักสูตรที่พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น
2. การเลือกรูปแบบ วางแผน และออกแบบหลักสูตร
การบูรณาการมาตรฐานกับหลักสูตร คือ การวางแผนรูปแบบหลักสูตร เพื่อใช้เป็นรูปแบบที่พัฒนาหลักสูตรระดับโรงเรียนเป็นภาพรวมพื้นฐาน ที่มีรูปแบบระบุเฉพาะเจาะจง ว่าต้องวางแผน หัวข้อ หรือสิ่งที่ต้องการ ในขณะเดียวกันเป็นการเพิ่มรายละเอียดว่าทำอย่างไรจะเปลี่ยนแปลงโครงร่างหลักสูตรให้มีการพัฒนาและใช้เป็นตัวชี้วัดที่มีลักษณะตรงกับความเป็นจริง ความมุ่งหมาย ที่มีรูปแบบเฉพาะเจาะจงตามที่ตั้งไว้ สิ่งสำคัญที่สุด ของการวางแผน และออกแบบรูปแบบที่หลากหลาย คือการทำให้รู้ถึงสิ่งที่เราต้องสอน สอนอะไร สอนอย่างไร และทำอย่างไรให้ได้รูปแบบที่ตรงตามความต้องการและบริบทของโรงเรียน การบูรณาการหลักสูตร เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการออกแบบหลักสูตร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับความรู้สึก และความสัมพันธ์จากความรู้ใหม่ เพื่อเรียบเรียงลำดับความรู้ที่เฉพาะเจาะจง และก่อให้เกิดการถ่ายโอนความรู้ ความเข้าใจ เชื่อมต่อความรู้โดยใช้กระบวนการ ผ่านการสร้างองค์ความรู้ แบบแผนความคิดขึ้นในสมอง การบูรณาการความคิด การเรียนรู้ภายในจากสิ่งแวดล้อม สนับสนุนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและถ่ายทอดเกิดเป็นความรู้
3. การเสริมสร้างความสามารถหรือสมรรถนะในทุกระดับของระบบการศึกษา
การสร้างเสริมความสามารถหรือสมรรถนะส่วนบุคคล เป็นการแปลงตัวเอกสารหลักสูตรไปสู่การสอนให้มีประสิทธิภาพ มีอิทธิพลมาจากองค์กรที่จะร่วมกันสร้างเสริมความสามารถโดยการร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพมหาวิทยาลัยและ วิทยาลัย ธุรกิจท้องถิ่นและพิพิธภัณฑ์ สามารถให้ความคิดใหม่ๆและการสนับสนุน สำหรับกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐาน ซึ่งมีความต้องการทั้งในการสอนและความต้องการให้ชุมชนมีส่วนร่วม
การวางแผนสำหรับการสร้างเสริมความรู้ความสามารถ โดยกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวข้องทั้งในด้านผู้บริหาร การจัดการหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการสนับสนุนส่งเสริมการใช้หลักสูตรจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลแก่ผู้เรียน ซึ่งต้องมีมาตรฐานในการจัดเตรียมความพร้อมของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความร่วมมือต่างๆ อย่างมีแบบแผนให้ทุกฝ่ายได้รวมแสดงวิสัยทัศน์ ความคิดเห็น ความรู้ ทักษะ อารมณ์ ความรู้สึก ร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์กับการเรียนของผู้เรียนมากที่สุด ซึ่งการสร้างเสริมความสามารถ อย่างต่อเนื่อง คือ สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยความสามารถของนักการศึกษา ที่จะเข้ามาการดูแล และประเมินหลักสูตร
4. เครื่องมือ การตรวจสอบติดตามผล ผลกระทบ และการวัดผลประเมินผลหลักสูตร
ขั้นตอนสุดท้ายของการรวมจัดทำหลักสูตรอิงมาตรฐาน ประกอบด้วย การใช้หลักสูตรในห้องเรียนและการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง การสะท้อนภาพให้เห็นและการประเมินผลเพื่อปรับปรุง
เมื่อนำหลักสูตรไปใช้ ติดตามความคืบหน้าของนักเรียน และประเมินประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือประเมินที่มีประสิทธิภาพ ที่หลากหลาย แทนที่จะอาศัยทดสอบมาตรฐานเพียงอย่างเดียวเพื่อพิจารณาจุดแข็งจุดอ่อน ของหลักสูตร และปรับปรุงสิ่งที่จำเป็น การประเมินผลนั้นสามารถ
รวมทั้งกรอบโครงสร้างหลักสูตร รูปแบบหลักสูตร การวางแผนและ กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในห้องเรียน เป้าหมายคือการต่อเนื่องในการปรับปรุง หลักสูตรและเพิ่มความรู้ความสามารถของนักเรียน
1. พัฒนากรอบโครงสร้างหลักสูตร (Curriculum framework)
เป็นขั้นตอนแรกและสำคัญยิ่งของการพัฒนาหลักสูตร วางแผนพัฒนาในระดับชาติ รัฐ เขตพื้นที่ มีรูปแบบที่หลากหลายและมีรูปแบบเฉพาะในแต่ละพื้นที่ Curry และ Temple กล่าวว่า โครงร่างหลักสูตร คือ เอกสาร หลักฐานที่มีส่วนทำให้เกิดความคิด เกี่ยวกับความรู้ ทักษะ กระบวนการ ที่ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ จากการฝึกฝน เพื่อเตรียมโครงสร้างภายใต้การจัดระบบการทำงานในส่วนต่างของหลักสูตรที่เป็นองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนในระดับสถานศึกษา กรรมการพัฒนาหลักสูตร (Curriculum committee) จะถูกแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่ยึดมาตรฐานเป็นเกณฑ์ โดยกรรมการเหล่านี้จะมาจาก ผู้บริหารสถานศึกษา บอร์ดผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และตัวแทนชุมชน เพื่อมีจุดหมายในการพัฒนาหลักสูตรที่พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น
2. การเลือกรูปแบบ วางแผน และออกแบบหลักสูตร
การบูรณาการมาตรฐานกับหลักสูตร คือ การวางแผนรูปแบบหลักสูตร เพื่อใช้เป็นรูปแบบที่พัฒนาหลักสูตรระดับโรงเรียนเป็นภาพรวมพื้นฐาน ที่มีรูปแบบระบุเฉพาะเจาะจง ว่าต้องวางแผน หัวข้อ หรือสิ่งที่ต้องการ ในขณะเดียวกันเป็นการเพิ่มรายละเอียดว่าทำอย่างไรจะเปลี่ยนแปลงโครงร่างหลักสูตรให้มีการพัฒนาและใช้เป็นตัวชี้วัดที่มีลักษณะตรงกับความเป็นจริง ความมุ่งหมาย ที่มีรูปแบบเฉพาะเจาะจงตามที่ตั้งไว้ สิ่งสำคัญที่สุด ของการวางแผน และออกแบบรูปแบบที่หลากหลาย คือการทำให้รู้ถึงสิ่งที่เราต้องสอน สอนอะไร สอนอย่างไร และทำอย่างไรให้ได้รูปแบบที่ตรงตามความต้องการและบริบทของโรงเรียน การบูรณาการหลักสูตร เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการออกแบบหลักสูตร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับความรู้สึก และความสัมพันธ์จากความรู้ใหม่ เพื่อเรียบเรียงลำดับความรู้ที่เฉพาะเจาะจง และก่อให้เกิดการถ่ายโอนความรู้ ความเข้าใจ เชื่อมต่อความรู้โดยใช้กระบวนการ ผ่านการสร้างองค์ความรู้ แบบแผนความคิดขึ้นในสมอง การบูรณาการความคิด การเรียนรู้ภายในจากสิ่งแวดล้อม สนับสนุนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและถ่ายทอดเกิดเป็นความรู้
3. การเสริมสร้างความสามารถหรือสมรรถนะในทุกระดับของระบบการศึกษา
การสร้างเสริมความสามารถหรือสมรรถนะส่วนบุคคล เป็นการแปลงตัวเอกสารหลักสูตรไปสู่การสอนให้มีประสิทธิภาพ มีอิทธิพลมาจากองค์กรที่จะร่วมกันสร้างเสริมความสามารถโดยการร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพมหาวิทยาลัยและ วิทยาลัย ธุรกิจท้องถิ่นและพิพิธภัณฑ์ สามารถให้ความคิดใหม่ๆและการสนับสนุน สำหรับกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐาน ซึ่งมีความต้องการทั้งในการสอนและความต้องการให้ชุมชนมีส่วนร่วม
การวางแผนสำหรับการสร้างเสริมความรู้ความสามารถ โดยกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวข้องทั้งในด้านผู้บริหาร การจัดการหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการสนับสนุนส่งเสริมการใช้หลักสูตรจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลแก่ผู้เรียน ซึ่งต้องมีมาตรฐานในการจัดเตรียมความพร้อมของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความร่วมมือต่างๆ อย่างมีแบบแผนให้ทุกฝ่ายได้รวมแสดงวิสัยทัศน์ ความคิดเห็น ความรู้ ทักษะ อารมณ์ ความรู้สึก ร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์กับการเรียนของผู้เรียนมากที่สุด ซึ่งการสร้างเสริมความสามารถ อย่างต่อเนื่อง คือ สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยความสามารถของนักการศึกษา ที่จะเข้ามาการดูแล และประเมินหลักสูตร
4. เครื่องมือ การตรวจสอบติดตามผล ผลกระทบ และการวัดผลประเมินผลหลักสูตร
ขั้นตอนสุดท้ายของการรวมจัดทำหลักสูตรอิงมาตรฐาน ประกอบด้วย การใช้หลักสูตรในห้องเรียนและการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง การสะท้อนภาพให้เห็นและการประเมินผลเพื่อปรับปรุง
เมื่อนำหลักสูตรไปใช้ ติดตามความคืบหน้าของนักเรียน และประเมินประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือประเมินที่มีประสิทธิภาพ ที่หลากหลาย แทนที่จะอาศัยทดสอบมาตรฐานเพียงอย่างเดียวเพื่อพิจารณาจุดแข็งจุดอ่อน ของหลักสูตร และปรับปรุงสิ่งที่จำเป็น การประเมินผลนั้นสามารถ
รวมทั้งกรอบโครงสร้างหลักสูตร รูปแบบหลักสูตร การวางแผนและ กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในห้องเรียน เป้าหมายคือการต่อเนื่องในการปรับปรุง หลักสูตรและเพิ่มความรู้ความสามารถของนักเรียน
วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552
5 Rules for Writting A Great WebQuest " by Bernie Dodge
วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552
WebQuest " as defined by Tom March
"A WebQuest is a scaffolded learning structure that uses links to essential resources on the World Wide Web and an authentic task to motivate students’ investigation of a central, open-ended question, development of individual expertise and participation in a final group process that attempts to transform newly acquired information into a more sophisticated understanding. The best WebQuests do this in a way that inspires students to see richer thematic relationships, facilitate a contribution to the real world of learning and reflect on their own metacognitive processes."
http://bestwebquests.com/what_webquests_are.asp
On his first WebQuest lesson
his first WebQuest lesson
I enjoyed walking around and helpingwhere necessary and listening to the buzz of conversations as students pooled theirnotes and tried to come to a decision. The things they were talking about were muchdeeper and more multifaceted than I had ever heard from them. That evening I realized that this was a different way to teach -- and that I loved it!"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)