กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐาน มีกระบวนการทำ 4 ขั้นตอน คือ
1. พัฒนากรอบโครงสร้างหลักสูตร (Curriculum framework)
เป็นขั้นตอนแรกและสำคัญยิ่งของการพัฒนาหลักสูตร วางแผนพัฒนาในระดับชาติ รัฐ เขตพื้นที่ มีรูปแบบที่หลากหลายและมีรูปแบบเฉพาะในแต่ละพื้นที่ Curry และ Temple กล่าวว่า โครงร่างหลักสูตร คือ เอกสาร หลักฐานที่มีส่วนทำให้เกิดความคิด เกี่ยวกับความรู้ ทักษะ กระบวนการ ที่ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ จากการฝึกฝน เพื่อเตรียมโครงสร้างภายใต้การจัดระบบการทำงานในส่วนต่างของหลักสูตรที่เป็นองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนในระดับสถานศึกษา กรรมการพัฒนาหลักสูตร (Curriculum committee) จะถูกแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่ยึดมาตรฐานเป็นเกณฑ์ โดยกรรมการเหล่านี้จะมาจาก ผู้บริหารสถานศึกษา บอร์ดผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และตัวแทนชุมชน เพื่อมีจุดหมายในการพัฒนาหลักสูตรที่พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น
2. การเลือกรูปแบบ วางแผน และออกแบบหลักสูตร
การบูรณาการมาตรฐานกับหลักสูตร คือ การวางแผนรูปแบบหลักสูตร เพื่อใช้เป็นรูปแบบที่พัฒนาหลักสูตรระดับโรงเรียนเป็นภาพรวมพื้นฐาน ที่มีรูปแบบระบุเฉพาะเจาะจง ว่าต้องวางแผน หัวข้อ หรือสิ่งที่ต้องการ ในขณะเดียวกันเป็นการเพิ่มรายละเอียดว่าทำอย่างไรจะเปลี่ยนแปลงโครงร่างหลักสูตรให้มีการพัฒนาและใช้เป็นตัวชี้วัดที่มีลักษณะตรงกับความเป็นจริง ความมุ่งหมาย ที่มีรูปแบบเฉพาะเจาะจงตามที่ตั้งไว้ สิ่งสำคัญที่สุด ของการวางแผน และออกแบบรูปแบบที่หลากหลาย คือการทำให้รู้ถึงสิ่งที่เราต้องสอน สอนอะไร สอนอย่างไร และทำอย่างไรให้ได้รูปแบบที่ตรงตามความต้องการและบริบทของโรงเรียน การบูรณาการหลักสูตร เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการออกแบบหลักสูตร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับความรู้สึก และความสัมพันธ์จากความรู้ใหม่ เพื่อเรียบเรียงลำดับความรู้ที่เฉพาะเจาะจง และก่อให้เกิดการถ่ายโอนความรู้ ความเข้าใจ เชื่อมต่อความรู้โดยใช้กระบวนการ ผ่านการสร้างองค์ความรู้ แบบแผนความคิดขึ้นในสมอง การบูรณาการความคิด การเรียนรู้ภายในจากสิ่งแวดล้อม สนับสนุนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและถ่ายทอดเกิดเป็นความรู้
3. การเสริมสร้างความสามารถหรือสมรรถนะในทุกระดับของระบบการศึกษา
การสร้างเสริมความสามารถหรือสมรรถนะส่วนบุคคล เป็นการแปลงตัวเอกสารหลักสูตรไปสู่การสอนให้มีประสิทธิภาพ มีอิทธิพลมาจากองค์กรที่จะร่วมกันสร้างเสริมความสามารถโดยการร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพมหาวิทยาลัยและ วิทยาลัย ธุรกิจท้องถิ่นและพิพิธภัณฑ์ สามารถให้ความคิดใหม่ๆและการสนับสนุน สำหรับกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐาน ซึ่งมีความต้องการทั้งในการสอนและความต้องการให้ชุมชนมีส่วนร่วม
การวางแผนสำหรับการสร้างเสริมความรู้ความสามารถ โดยกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวข้องทั้งในด้านผู้บริหาร การจัดการหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการสนับสนุนส่งเสริมการใช้หลักสูตรจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลแก่ผู้เรียน ซึ่งต้องมีมาตรฐานในการจัดเตรียมความพร้อมของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความร่วมมือต่างๆ อย่างมีแบบแผนให้ทุกฝ่ายได้รวมแสดงวิสัยทัศน์ ความคิดเห็น ความรู้ ทักษะ อารมณ์ ความรู้สึก ร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์กับการเรียนของผู้เรียนมากที่สุด ซึ่งการสร้างเสริมความสามารถ อย่างต่อเนื่อง คือ สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยความสามารถของนักการศึกษา ที่จะเข้ามาการดูแล และประเมินหลักสูตร
4. เครื่องมือ การตรวจสอบติดตามผล ผลกระทบ และการวัดผลประเมินผลหลักสูตร
ขั้นตอนสุดท้ายของการรวมจัดทำหลักสูตรอิงมาตรฐาน ประกอบด้วย การใช้หลักสูตรในห้องเรียนและการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง การสะท้อนภาพให้เห็นและการประเมินผลเพื่อปรับปรุง
เมื่อนำหลักสูตรไปใช้ ติดตามความคืบหน้าของนักเรียน และประเมินประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือประเมินที่มีประสิทธิภาพ ที่หลากหลาย แทนที่จะอาศัยทดสอบมาตรฐานเพียงอย่างเดียวเพื่อพิจารณาจุดแข็งจุดอ่อน ของหลักสูตร และปรับปรุงสิ่งที่จำเป็น การประเมินผลนั้นสามารถ
รวมทั้งกรอบโครงสร้างหลักสูตร รูปแบบหลักสูตร การวางแผนและ กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในห้องเรียน เป้าหมายคือการต่อเนื่องในการปรับปรุง หลักสูตรและเพิ่มความรู้ความสามารถของนักเรียน
วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)