Alternative Assessment Primer
การประเมินทางเลือกที่หลากหลายคืออะไร
การประเมินที่หลากหลายเป็นคำจำกัดความที่พูดถึงวิธีการประเมินที่แสดงให้เห็นถึงทักษะความรู้ การคิด วิเคราะห์ และความสามารถทางทักษะจากการทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ มากกว่าการประเมินจากการถามตอบ ทั่วๆไป ซึ่งไม่สามารถประเมินได้จากข้อสอบปรนัย หรือเลือกตอบถูก-ผิด แต่ในขณะเดียวกัน ความรู้พื้นฐาน ยังเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน
การประเมินที่หลากหลายคล้ายกับอะไร
การประเมินที่หลากหลายมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของวิชา ทักษะ และความรู้ โดยทั่วไปแล้วการประเมินนี้จะแสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้จากการสร้างผลงาน หรือการตอบปากเปล่า หรือการทำงาน รูปแบบของการประเมินที่หลากหลาย คล้ายกับการประเมินพฤติกรรมจากการปฏิบัติ การประเมินตามสภาพจริง และการประเมินจากแฟ้มผลงาน
1. การประเมินพฤติกรรมจากการปฏิบัติ (Performance Assessment) เป็นหมายถึงการประเมินพฤติกรรมที่ได้จากการสังเกตภายใต้สถานการณ์ต่างๆ เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ไม่ค่อยมีการประเมินแบบปรนัย เพราะนักเรียนใช้เวลาเรียนอยู่ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ การประเมินจะเป็นการเขียนผลการทดลอง หรือการทำรายงาน
2. การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)เป็นการประเมินจากความเป็นจริง ข้อเท็จจริง สภาพจริงทีขึ้น หลังจากที่นักเรียนผ่านการเรียนรู้
3. การประเมินจากแฟ้มผลงาน (Portfolio Assessment) เป็นการประเมินจากผลงานนักเรียนที่เสร็จสมบูรณ์ ครูใช้ผลงานนักเรียนเพื่อทบทวนและเลือกผลงานที่ดีที่สุด ที่แสดงให้เห็นถึงการบรรลุตามจุดประสงค์ แฟ้มสะสมผลงานเป็นได้ทั้งแบบทดสอบ บทเรียนคอมพิวเตอร์ การจับคู่ แต่สุดท้ายนักเรียนต้องได้ผลงานหรือหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่านักเรียนผ่านการประเมิน
เราไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างการประเมินกับการเรียนการสอน แต่การประเมินที่หลากหลาย ( Alternative Assessment )มีลักษณะเด่นแตกต่างจากการประเมินทั่วไป เพราะ มีจุดประสงค์บ่งบอกให้รู้ถึงวิธีการประเมินที่ต่างจากการเรียนรู้ ส่วนสำคัญนี้จะบอกไว้ในจุดประสงค์การประเมิน เป็นการประเมินที่มีการเปิดเผยแสดงให้เห็นถึงมาตรฐานในการประเมินผล ที่เรียกว่า รูบริค (Rubric) ซึ่งประกอบด้วยระดับของรายละเอียดของมาตรฐานที่บ่งบอกถึงความสามารถที่ใช้ในการประเมิน และเปรียบเทียบความแตกต่างให้เห็นอย่างความชัดเจน
ทำไมต้องใช้ Alternative Assessment การประเมินแบบนี้เกิดขึ้นจาก การประเมินแบบใช้ข้อสอบในอดีต ซึ่งพบว่าจะใช้ได้กับการออกแบบการเรียนรู้แบบความรู้ความจำ แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น การประเมินแบบเก่าๆ จึงไม่เหมาะกับความซับซ้อน ดังนั้นการสอนให้นักเรียนมีทักษะ ความคิด จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากกว่าความจำ
Match Assessments to the Purposes for Assessment
Sound assessment การประเมินแบบนี้แสดงให้เห็นชัดในการประเมิน (จากมาตรฐานผู้เรียนหรือจุดประสงค์การประเมิน) การตั้งจุดประสงค์ให้สอดคล้องกับการประเมินจะมีผลต่อการออกแบบการประเมิน เพราะการประเมินแต่ละวิชาออกแบบการประเมินไม่เหมือนกัน การออกแบบเพื่อประเมินวิชาคณิตศาสตร์ จะใช้กับข้อสอบแบบปรนัย หรือคำถามสั้นๆ เพราะ ข้อสอบแบบปรนัย หรือคำถามสั้นๆ ถูกออกแบบเพื่อวัดความรู้เฉพาะด้านของนักเรียน ส่วนทักษะทางวิทยาศาสตร์ ก็ไม่เหมาะกับการใช้ข้อสอบแบบปรนัย หรือคำถามสั้นๆ ในบางครั้ง แบบประเมินบางส่วนถูกใช้ไปในการสอบถามของนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ ดังนั้นการออกแบบการประเมินให้เข้ากันได้กับจุดประสงค์จะขึ้นอยู่วิชา และระดับของผู้เรียน
Herman, Aschbacher, and Winter อธิบายไว้ว่า มี 2 จุดประสงค์ที่ใช้การประเมิน ถึงความแตกต่างแต่ละจุดประสงค์ อย่างแรก เพื่อควบคุมให้ผู้เรียนเกิดทักษะ หรือความรู้การประเมินควรจะให้ความสำคัญที่ผลงานของนักเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งได้จากการประเมินโดยตรง หรือ จากผลงานของนักเรียน และสุดท้าย ควรคำนึงถึงระดับความสามารถของผู้เรียน และการวางแผนการใช้เครื่องมือการประเมิน เพราะจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจผิดว่าสิ่งที่เราต้องการประเมิน ว่าเป็นกระบวนการ หรือผลผลผลิต
สรุปได้ว่า การประเมินที่หลากหลายมีรูปแบบใช้ได้อย่างอิสระ ไม่จำกัดรูปแบบที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สอนต้องการประเมินผู้เรียนอย่างไร โดยมีการออกแบบให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ต้องการว่า เพื่ออะไร กับใคร อย่างไร ดังนั้นการประเมินที่หลากหลายมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันที่การออกแบบเพื่อนำไปใช้กับใคร ระดับความรู้ความสามารถ วิชาอะไร เพื่อจุดประสงค์อะไร และสิ่งสำคัญที่ทำให้การประเมินมีความชัดเจน มีมาตรฐานอยู่บนบรรทัดฐานเดียวกัน คือ การกำหนดเกณฑ์การประเมิน (rubric)
resource
http://teachingtoday.glencoe.com/howtoarticles/alternative-assessment-primer
http://www.ncrel.org/sdrs/areas/issues/methods/assment/as7purp.htm
เจริญศรี กันยุบล
วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552
วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552
สรุปความรู้จาก Group Work 2
WebQuest นวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย
ความหมาย
นักการศึกษาหลายคน ให้ความหมาย WebQuest ไว้หลายความหมาย พอสรุปได้ว่า
WebQuest หมายถึง กิจกรรมการเรียนแบบสืบสวนสอบสวน เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนในการใช้เว็บไซต์ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ นักเรียนมีการติดต่อสื่อสารทำให้มีโอกาสทำความเข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ เน้นความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ข้อมูลผ่านแหล่งข้อมูลที่ได้จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ หรือที่สร้างขึ้นจากสื่อต่างๆ รวมทั้งจากเว็บไซต์ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือเชื่อมโยงการเรียนรู้ของนักเรียน
องค์ประกอบของเว็บเควสท์ พบว่ารูปแบบที่เหมือนกันมี 5 ส่วน คือ
1. บทนำ (Introduction)
- เป็นส่วนที่กำหนดขั้นตอน ข้อมูล ประเภทของงาน และความรู้พื้นฐานของนักเรียน เป็นส่วนที่สร้างความสนใจกระตุ้นให้นักเรียนในสิ่งที่จะเรียน
2.ขั้นภารกิจ (Task)
- เป็นส่วนที่สำคัญ จะบอกรายละเอียดในการทำงานตามกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้งานตามหัวข้อที่กำหนด ผลสำเร็จของเว็บเควสท์มีส่วนมาจากการเลือกหัวข้อที่ดี
3. กระบวนการ (Process)
- ควรคำนึงถึงกระบวนการที่จะทำ WebQuests ให้เสร็จสมบูรณ์ ใช้คำถามที่กระตุ้น ให้นักเรียนเกิดความสนใจ สั้น เข้าใจง่าย ชัดเจนและมีแหล่งข้อมูล ได้จากสื่อที่มีอยู่จากแหล่งเรียนรู้ทั่วไป หรือ อินเตอร์เนต ควรเลือกแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จะทำให้การสร้างเว็บเควสท์น่าสนใจมากยิ่งขึ้น แหล่งข้อมูลอาจแยกเป็นอีกหัวข้อออกจากกระบวนการก็ได้
4. การประเมินผล (Evaluation)
- เป็นส่วนที่กำหนดคุณภาพของนักเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด เน้นการประเมินที่หลากหลาย เป็นการประเมินตามสภาพจริง ที่มีมาตรฐานเดียวกัน ควรพิจารณาว่านักเรียนจะมีการวัดผลอย่างไร จะเป็นแบบ Contract, checklist หรือ rubric ฯลฯ
5. บทสรุป (Conclusion)
- เป็นการสรุปว่านักเรียนได้เรียนรู้อะไร มีการย้ำผู้เรียนให้ผู้เรียนได้เพิ่มเติมประสบการณ์ นักเรียนบอกประสบการณ์ ความรู้ ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน และขยายความรู้ของนักเรียนเชื่อมโยงกับสิ่งอื่นได้
ส่วนที่พบว่าต่างกัน คือ ส่วนที่เพิ่มเติมในบางเว็บเควสท์ คือในส่วนของครูที่เพิ่มไว้ในส่วนสุดท้ายของเว็บเควสท์ การเพิ่มข้อมูลการจัดการชั้นเรียน ที่ครูต้องการให้มีในชั้นเรียน
การประยุกต์ใช้ทางการศึกษา
การใช้เว็บเควสท์สำหรับการจัดการเรียนการสอน ครูสามารถค้นหาจากเว็บมาใช้ได้ โดยเลือกเว็บเควสท์ทีเห็นว่าเหมาะสมนำมาปรับเปลี่ยนประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับงานสอนของครู
1.เลือกเว็บเควสท์ที่ดี สามารถนำมาปรับเปลี่ยนสร้างข้อมูลเป็นของตนเอง ทำให้น่าสนใจ
เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
2.เว็บเควสที่ค้นมาได้จะมีความแตกต่างกัน ครูต้องดึงจุดเด่นแต่ละเว็บเควสท์นำมาผสมผสานให้เข้ากันเพื่อนำมาใช้ เช่น การใช้ฉาก ข้อมูล รูบริค ของแต่ละเว็บเควสท์ เพื่อสร้างบทเรียนนั้นให้น่าสนใจ
3.ปรับเว็บเควสท์ให้เหมาะกับระดับอายุของผู้เรียนและตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้
4.ใช้ออกแบบเกี่ยวกับสถานที่ สามารถออกแบบเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับสิ่งที่เราต้องการได้ เช่นเว็บเควสท์เดิมกล่าวถึงชายหาดหรือภูเขา เราอาจจะออกแบบกล่าวถึงท้องถิ่นในวิชาภูมิศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงมากที่สุด
5.ครูอาจจะนำมาขยายขอบเขตการออกแบบให้เหมาะกับการเรียนการสอนในแต่ละสาระการเรียนรู้ ที่เป็นรูปแบบของตนเองได้
Taskonomy
Taskonomy เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของ WebQuests เป็นงานหรือภารกิจ เป้าหมายที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ได้ตามผลการเรียนรู้ ซึ่งเป็นภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องดำเนินการตามกิจกรรมขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ได้คำตอบ ข้อมูลและ ความรู้ แบ่งได้เป็น 12 งาน คือ
1. Retelling Tasks
เป็นงานที่ผู้เรียนไปศึกษาจากแหล่งค้นคว้า ข้อมูล หรือเว็บไซต์ต่างๆ ย่อมสามารถสรุป จับใจความสำคัญจากเนื้อหาสาระได้บ้าง ผู้เรียนสามารถนำเสนอข้อสรุปต่างๆ ผ่าน PowerPoint HyperStudio presentations โปสเตอร์ รายงานหรือข้อสรุปสั้นๆ กิจกรรมแบบนี้ไม่มีถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน
2. Compilation Tasks
เป็นงานง่ายๆ ที่ผู้เรียนสามารถนำข้อมูล ความรู้ต่างๆ มาเรียบเรียงและจัดการใหม่ งานนี้เป็นงานที่นำความรู้ที่ได้ไปใช้จริง เป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้เรียนเอง แล้วจึงเผยแพร่ความรู้ที่ได้ออกไป
3. Mystery Tasks
เป็นงานที่หลายๆ คนชอบ มีลักษณะคล้ายกับนักสืบที่สืบประเด็นเรื่องราวหรือไขความลับต่างๆ การออกแบบงานนี้เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ ปัญหาที่ต้องการจะรู้ไม่ควรง่ายจนเกินไป งานแบบนี้เหมาะกับผู้เรียนในระดับประถมศึกษาและผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่
4. Journalistic Tasks
เป็นงานที่ค้นหาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นข้อเท็จจริง งานนี้ต้องการความรวดเร็วและความแม่นยำมาก วิธีการเขียนหรือนำเสนอรายงานออกมา เพื่อเผยแพร่ข้อมูลอย่างกว้างขวาง
5. Design Tasks
เป็นงานที่วางแผนหรือออกแบบ เพื่อให้เกิดผลงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
6. Creative Product Tasks
เป็นงานที่มีความชัดเจนในตัว ผู้เรียนเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ โดยใช้ความรู้จากแหล่งต่างๆ เป็นพื้นฐาน
7. Consensus Building Tasks
เป็นงานที่โต้เถียง แต่เป็นการโต้เถียงเพื่อประโยชน์เป็นเป้าหมายสูงสุด มีหลักการคือ ความแตกต่างจะช่วยฝึกแก้ปัญหาได้ ผู้ที่สร้างงานนี้จึงพยายามนำความคิดต่างกันให้มาลงรอยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนให้เกิดการฝึกฝนไปด้วย
8. Persuasion Tasks
เป็นงานที่มีแนวคิดว่า ความคิดย่อมมีการมองต่างมุม เพราะอาจจะมีเหตุผลที่ต่างกันออกไปแต่มันก็มีประโยชน์สำหรับการพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ โดยมีการเสนอในหลายรูปแบบ เช่นการเขียนจดหมาย วิดีโอ โปสเตอร์ เพื่อออกแบบการ โต้กันทางความคิดเพื่อพัฒนาความคิดต่อไป
9. Self- Knowledge Tasks
เป็นงานที่ปัจจุบันมีน้อย ซึ่งมีหลักการว่า ควรให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อจะได้นำไปพัฒนาตนเองต่อไป เป้าหมายขั้นสุดยอดของเว็บเควสไม่ใช่การทำให้ผู้เรียนต้องพึ่งพาการเรียนแบบเว็บเควสตลอดไป แต่เป็นการแก้ไขทีละส่วน ทีละเรื่อง และสุดท้ายสามารถเรียนรู้อยู่บนพื้นฐานการเรียนรู้ขั้นสูงได้ด้วยตนเอง
10. Analytical Tasks
เป็นงานที่มีลักษณะการเรียนรู้ที่มีการเรียนถึงความสำคัญของสิ่งต่างๆที่สัมพันธ์ต่อกัน ภายในหัวข้อเดียวกัน โดยการวิเคราะห์เหตุผล เพื่อพัฒนาความรู้ ค้นหาความเหมือนความต่าง ความเกี่ยวโยงกันและหาความหมายกันและกัน และมีการตั้งคำถามเพื่อสร้างภารกิจให้ผู้เรียนมีโอกาสค้นหาและนำความรู้มาประยุกต์กับเหตุการณ์ปัจจุบัน จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างมีตรรกะระหว่างหลักการต่างๆ อันเป็นการเพิ่มโอกาสการส่งถ่ายการเรียนรู้จากบริบทหนึ่งไปสู่อีกบริบทหนึ่ง ในขณะเดียวกันจะช่วยเอื้อให้เกิดการวางรากฐานความรู้ที่ดีขึ้น
11. Judgment Tasks
เป็นงานที่มีเกี่ยวกับการประเมิน ซึ่งการประเมินสิ่งใดจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ งานประเภทนี้จะเสนอข้อมูลโดยลำดับหัวข้อ เพื่อเรียนรู้ ซักถาม เพื่อจัดลำดับ หรือแจ้งผลของการตัดสินใจ
12. Scientific Tasks
เป็นงานที่ผู้เรียนต้องฝึกการรายงานผลในรูปแบบมาตรฐานตามการรายงานทางวิทยาศาสตร์ จะทำให้ทราบถึงกระบวนการทำงานทางวิทยาศาสตร์ และมีการช่วยตั้งสมมติฐานเพื่อเสริมความเข้าใจ พร้อมกับฝึกให้ผู้เรียนสามารถตั้งข้อสมมติฐานโดยใช้ความรู้ความเข้าใจในการที่จะเลือกข้อมูลทุกรูปแบบ
การออกแบบและจัดทำ WebQuests
การออกแบบ WebQuests
1. เลือกเรื่อง หรือหัวข้อที่ใช้สอนวิชาอะไร ต้องการให้เกิดอะไรกับนักเรียน นักเรียนเรียนแล้วได้อะไร ครูผู้สอนต้องเลือกหัวข้อให้เหมาะสมกับผลการเรียนรู้ที่ตั้งไว้ในโครงสร้างรายวิชาในหน่วยนั้นๆที่สำคัญครูผู้สอนต้องให้นักเรียนมีการเรียนรู้แบบ Inquiry-Based
2. ออกแบบ WebQuests ให้เหมาะสมกับ Task ครูเป็นผู้เลือก Task ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เน้น WebQuests ที่จะใช้ในการสอนต้องให้นักเรียนเกิดทักษะและความคิดรวบยอด ตามผลการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยที่ตั้งไว้
3. เลือกรูปแบบWebQuests ที่ใช้สอน ให้ตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้และหัวข้อที่จะสอน การเลือก WebQuests นั้นเลือกจาก WebQuests ที่มีและสร้างขึ้นสำหรับการเรียนรู้แต่ละเรื่อง เป็นWebQuests Template สำเร็จรูปมากมาย โดยเลือกให้เหมาะกับวิชาและเนื้อหาที่ใช้สอน หรือ WebQuests ที่ครูสร้างขึ้นเองสำหรับเนื้อหานั้นโดยเฉพาะ ซึ่งมีรูปแบบให้เลือกตามงานหรือกิจกรรมที่จัดให้นักเรียน มีอยู่อย่างหลากหลาย เช่น การเล่าเรื่อง การเปรียบเทียบ การสืบค้น การสำรวจหาข้อมูล ฯลฯ
4.สร้างเครื่องมือวัดผลใน WebQuests ดูว่าต้องช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพในมาตรฐาน และการวัดผลว่าผู้เรียนสามารถแสดงศักยภาพในระดับที่ต้องการ
5.พัฒนากระบวนใน WebQuest นักเรียนได้รับคำสั่ง หรือคำชี้แจงที่ชัดเจน เข้าใจง่าย เพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สิ่งที่ช่วยในการทำกิจกรรมนี้คือ การสร้างแหล่งเรียนรู้ การจัดทำข้อแนะนำสำหรับผู้เรีย
6.การรวบรวมส่วนประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น เพิ่ม Introduction และ conclusion ส่วนเพิ่มเติมของครู ใส่ graphics ต่างๆที่จะดึงดูดผู้เรียน เนื้อหาต่างๆที่เขียนขึ้นใน WebQuests คำศัพท์ที่ใช้ควรเหมาะสมสำหรับกลุ่มของผู้เรียน ระดับอายุของผู้เรียน
7. การประเมินผล เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการเรียนการสอน เพื่อประเมินว่าผู้เรียนได้อะไรหลังผ่านกระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับใด นักเรียนมีส่วนร่วมใน กระบวนการเรียนรู้ โดยพิจารณาตามวัตถุประสงค์ และ Rubrics ซึ่งเป็นเครื่องมือการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การประเมิน มีวิธีที่ให้คะแนนงานของนักเรียน Rubrics เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการประเมินเกณฑ์ที่ซับซ้อนและที่เป็นอัตนัย สามารถแสดงเหตุผลอันเหมาะสมในการประเมินหรือให้คะแนน เป็น การประเมินผล ที่ตรงมากที่สุด นักเรียนเองมีส่วนร่วมในการประเมิน
Rubrics สร้างได้หลายรูปแบบตามระดับของความซับซ้อน มีลักษณะ คือ มุ่งเน้นการวัดที่ระบุ วัตถุประสงค์ (ประสิทธิภาพพฤติกรรมหรือคุณภาพ) มีช่วงให้คะแนนประสิทธิภาพ และ มีมาตรฐาน
ลักษณะของWebQuests ที่ดี คือ 1) เชื่อมโยงทุกคนและทันสมัย 2) ดึงดูดใจ และมีข้อผิดพลาดน้อย 3) งานเป็นที่น่าสนใจและเพิ่มทักษะการคิดขั้นสูง 4) แนวทางการเรียนรู้ตรงกับมาตรฐาน 5) อ่านง่ายตรงกับระดับของนักเรียน
แหล่งข้อมูล
กลุ่มที่ 1 ความหมาย องค์ประกอบ การประยุกต์ใช้: อุบลลักษณ์ – เจริญศรี – สมมาตร (post 4 April 2009)
กลุ่มที่ 2 Taskonomy: รดามณี- ศศิธร (post 4 April 2009)
กลุ่มที่ 3 การออกแบบและจัดทำ WebQuests : วรางคณา – วันเพ็ญ – นิตยา (post 3 April 2009)
ความหมาย
นักการศึกษาหลายคน ให้ความหมาย WebQuest ไว้หลายความหมาย พอสรุปได้ว่า
WebQuest หมายถึง กิจกรรมการเรียนแบบสืบสวนสอบสวน เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนในการใช้เว็บไซต์ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ นักเรียนมีการติดต่อสื่อสารทำให้มีโอกาสทำความเข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ เน้นความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ข้อมูลผ่านแหล่งข้อมูลที่ได้จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ หรือที่สร้างขึ้นจากสื่อต่างๆ รวมทั้งจากเว็บไซต์ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือเชื่อมโยงการเรียนรู้ของนักเรียน
องค์ประกอบของเว็บเควสท์ พบว่ารูปแบบที่เหมือนกันมี 5 ส่วน คือ
1. บทนำ (Introduction)
- เป็นส่วนที่กำหนดขั้นตอน ข้อมูล ประเภทของงาน และความรู้พื้นฐานของนักเรียน เป็นส่วนที่สร้างความสนใจกระตุ้นให้นักเรียนในสิ่งที่จะเรียน
2.ขั้นภารกิจ (Task)
- เป็นส่วนที่สำคัญ จะบอกรายละเอียดในการทำงานตามกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้งานตามหัวข้อที่กำหนด ผลสำเร็จของเว็บเควสท์มีส่วนมาจากการเลือกหัวข้อที่ดี
3. กระบวนการ (Process)
- ควรคำนึงถึงกระบวนการที่จะทำ WebQuests ให้เสร็จสมบูรณ์ ใช้คำถามที่กระตุ้น ให้นักเรียนเกิดความสนใจ สั้น เข้าใจง่าย ชัดเจนและมีแหล่งข้อมูล ได้จากสื่อที่มีอยู่จากแหล่งเรียนรู้ทั่วไป หรือ อินเตอร์เนต ควรเลือกแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จะทำให้การสร้างเว็บเควสท์น่าสนใจมากยิ่งขึ้น แหล่งข้อมูลอาจแยกเป็นอีกหัวข้อออกจากกระบวนการก็ได้
4. การประเมินผล (Evaluation)
- เป็นส่วนที่กำหนดคุณภาพของนักเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด เน้นการประเมินที่หลากหลาย เป็นการประเมินตามสภาพจริง ที่มีมาตรฐานเดียวกัน ควรพิจารณาว่านักเรียนจะมีการวัดผลอย่างไร จะเป็นแบบ Contract, checklist หรือ rubric ฯลฯ
5. บทสรุป (Conclusion)
- เป็นการสรุปว่านักเรียนได้เรียนรู้อะไร มีการย้ำผู้เรียนให้ผู้เรียนได้เพิ่มเติมประสบการณ์ นักเรียนบอกประสบการณ์ ความรู้ ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน และขยายความรู้ของนักเรียนเชื่อมโยงกับสิ่งอื่นได้
ส่วนที่พบว่าต่างกัน คือ ส่วนที่เพิ่มเติมในบางเว็บเควสท์ คือในส่วนของครูที่เพิ่มไว้ในส่วนสุดท้ายของเว็บเควสท์ การเพิ่มข้อมูลการจัดการชั้นเรียน ที่ครูต้องการให้มีในชั้นเรียน
การประยุกต์ใช้ทางการศึกษา
การใช้เว็บเควสท์สำหรับการจัดการเรียนการสอน ครูสามารถค้นหาจากเว็บมาใช้ได้ โดยเลือกเว็บเควสท์ทีเห็นว่าเหมาะสมนำมาปรับเปลี่ยนประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับงานสอนของครู
1.เลือกเว็บเควสท์ที่ดี สามารถนำมาปรับเปลี่ยนสร้างข้อมูลเป็นของตนเอง ทำให้น่าสนใจ
เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
2.เว็บเควสที่ค้นมาได้จะมีความแตกต่างกัน ครูต้องดึงจุดเด่นแต่ละเว็บเควสท์นำมาผสมผสานให้เข้ากันเพื่อนำมาใช้ เช่น การใช้ฉาก ข้อมูล รูบริค ของแต่ละเว็บเควสท์ เพื่อสร้างบทเรียนนั้นให้น่าสนใจ
3.ปรับเว็บเควสท์ให้เหมาะกับระดับอายุของผู้เรียนและตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้
4.ใช้ออกแบบเกี่ยวกับสถานที่ สามารถออกแบบเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับสิ่งที่เราต้องการได้ เช่นเว็บเควสท์เดิมกล่าวถึงชายหาดหรือภูเขา เราอาจจะออกแบบกล่าวถึงท้องถิ่นในวิชาภูมิศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงมากที่สุด
5.ครูอาจจะนำมาขยายขอบเขตการออกแบบให้เหมาะกับการเรียนการสอนในแต่ละสาระการเรียนรู้ ที่เป็นรูปแบบของตนเองได้
Taskonomy
Taskonomy เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของ WebQuests เป็นงานหรือภารกิจ เป้าหมายที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ได้ตามผลการเรียนรู้ ซึ่งเป็นภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องดำเนินการตามกิจกรรมขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ได้คำตอบ ข้อมูลและ ความรู้ แบ่งได้เป็น 12 งาน คือ
1. Retelling Tasks
เป็นงานที่ผู้เรียนไปศึกษาจากแหล่งค้นคว้า ข้อมูล หรือเว็บไซต์ต่างๆ ย่อมสามารถสรุป จับใจความสำคัญจากเนื้อหาสาระได้บ้าง ผู้เรียนสามารถนำเสนอข้อสรุปต่างๆ ผ่าน PowerPoint HyperStudio presentations โปสเตอร์ รายงานหรือข้อสรุปสั้นๆ กิจกรรมแบบนี้ไม่มีถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน
2. Compilation Tasks
เป็นงานง่ายๆ ที่ผู้เรียนสามารถนำข้อมูล ความรู้ต่างๆ มาเรียบเรียงและจัดการใหม่ งานนี้เป็นงานที่นำความรู้ที่ได้ไปใช้จริง เป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้เรียนเอง แล้วจึงเผยแพร่ความรู้ที่ได้ออกไป
3. Mystery Tasks
เป็นงานที่หลายๆ คนชอบ มีลักษณะคล้ายกับนักสืบที่สืบประเด็นเรื่องราวหรือไขความลับต่างๆ การออกแบบงานนี้เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ ปัญหาที่ต้องการจะรู้ไม่ควรง่ายจนเกินไป งานแบบนี้เหมาะกับผู้เรียนในระดับประถมศึกษาและผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่
4. Journalistic Tasks
เป็นงานที่ค้นหาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นข้อเท็จจริง งานนี้ต้องการความรวดเร็วและความแม่นยำมาก วิธีการเขียนหรือนำเสนอรายงานออกมา เพื่อเผยแพร่ข้อมูลอย่างกว้างขวาง
5. Design Tasks
เป็นงานที่วางแผนหรือออกแบบ เพื่อให้เกิดผลงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
6. Creative Product Tasks
เป็นงานที่มีความชัดเจนในตัว ผู้เรียนเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ โดยใช้ความรู้จากแหล่งต่างๆ เป็นพื้นฐาน
7. Consensus Building Tasks
เป็นงานที่โต้เถียง แต่เป็นการโต้เถียงเพื่อประโยชน์เป็นเป้าหมายสูงสุด มีหลักการคือ ความแตกต่างจะช่วยฝึกแก้ปัญหาได้ ผู้ที่สร้างงานนี้จึงพยายามนำความคิดต่างกันให้มาลงรอยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนให้เกิดการฝึกฝนไปด้วย
8. Persuasion Tasks
เป็นงานที่มีแนวคิดว่า ความคิดย่อมมีการมองต่างมุม เพราะอาจจะมีเหตุผลที่ต่างกันออกไปแต่มันก็มีประโยชน์สำหรับการพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ โดยมีการเสนอในหลายรูปแบบ เช่นการเขียนจดหมาย วิดีโอ โปสเตอร์ เพื่อออกแบบการ โต้กันทางความคิดเพื่อพัฒนาความคิดต่อไป
9. Self- Knowledge Tasks
เป็นงานที่ปัจจุบันมีน้อย ซึ่งมีหลักการว่า ควรให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อจะได้นำไปพัฒนาตนเองต่อไป เป้าหมายขั้นสุดยอดของเว็บเควสไม่ใช่การทำให้ผู้เรียนต้องพึ่งพาการเรียนแบบเว็บเควสตลอดไป แต่เป็นการแก้ไขทีละส่วน ทีละเรื่อง และสุดท้ายสามารถเรียนรู้อยู่บนพื้นฐานการเรียนรู้ขั้นสูงได้ด้วยตนเอง
10. Analytical Tasks
เป็นงานที่มีลักษณะการเรียนรู้ที่มีการเรียนถึงความสำคัญของสิ่งต่างๆที่สัมพันธ์ต่อกัน ภายในหัวข้อเดียวกัน โดยการวิเคราะห์เหตุผล เพื่อพัฒนาความรู้ ค้นหาความเหมือนความต่าง ความเกี่ยวโยงกันและหาความหมายกันและกัน และมีการตั้งคำถามเพื่อสร้างภารกิจให้ผู้เรียนมีโอกาสค้นหาและนำความรู้มาประยุกต์กับเหตุการณ์ปัจจุบัน จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างมีตรรกะระหว่างหลักการต่างๆ อันเป็นการเพิ่มโอกาสการส่งถ่ายการเรียนรู้จากบริบทหนึ่งไปสู่อีกบริบทหนึ่ง ในขณะเดียวกันจะช่วยเอื้อให้เกิดการวางรากฐานความรู้ที่ดีขึ้น
11. Judgment Tasks
เป็นงานที่มีเกี่ยวกับการประเมิน ซึ่งการประเมินสิ่งใดจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ งานประเภทนี้จะเสนอข้อมูลโดยลำดับหัวข้อ เพื่อเรียนรู้ ซักถาม เพื่อจัดลำดับ หรือแจ้งผลของการตัดสินใจ
12. Scientific Tasks
เป็นงานที่ผู้เรียนต้องฝึกการรายงานผลในรูปแบบมาตรฐานตามการรายงานทางวิทยาศาสตร์ จะทำให้ทราบถึงกระบวนการทำงานทางวิทยาศาสตร์ และมีการช่วยตั้งสมมติฐานเพื่อเสริมความเข้าใจ พร้อมกับฝึกให้ผู้เรียนสามารถตั้งข้อสมมติฐานโดยใช้ความรู้ความเข้าใจในการที่จะเลือกข้อมูลทุกรูปแบบ
การออกแบบและจัดทำ WebQuests
การออกแบบ WebQuests
1. เลือกเรื่อง หรือหัวข้อที่ใช้สอนวิชาอะไร ต้องการให้เกิดอะไรกับนักเรียน นักเรียนเรียนแล้วได้อะไร ครูผู้สอนต้องเลือกหัวข้อให้เหมาะสมกับผลการเรียนรู้ที่ตั้งไว้ในโครงสร้างรายวิชาในหน่วยนั้นๆที่สำคัญครูผู้สอนต้องให้นักเรียนมีการเรียนรู้แบบ Inquiry-Based
2. ออกแบบ WebQuests ให้เหมาะสมกับ Task ครูเป็นผู้เลือก Task ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เน้น WebQuests ที่จะใช้ในการสอนต้องให้นักเรียนเกิดทักษะและความคิดรวบยอด ตามผลการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยที่ตั้งไว้
3. เลือกรูปแบบWebQuests ที่ใช้สอน ให้ตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้และหัวข้อที่จะสอน การเลือก WebQuests นั้นเลือกจาก WebQuests ที่มีและสร้างขึ้นสำหรับการเรียนรู้แต่ละเรื่อง เป็นWebQuests Template สำเร็จรูปมากมาย โดยเลือกให้เหมาะกับวิชาและเนื้อหาที่ใช้สอน หรือ WebQuests ที่ครูสร้างขึ้นเองสำหรับเนื้อหานั้นโดยเฉพาะ ซึ่งมีรูปแบบให้เลือกตามงานหรือกิจกรรมที่จัดให้นักเรียน มีอยู่อย่างหลากหลาย เช่น การเล่าเรื่อง การเปรียบเทียบ การสืบค้น การสำรวจหาข้อมูล ฯลฯ
4.สร้างเครื่องมือวัดผลใน WebQuests ดูว่าต้องช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพในมาตรฐาน และการวัดผลว่าผู้เรียนสามารถแสดงศักยภาพในระดับที่ต้องการ
5.พัฒนากระบวนใน WebQuest นักเรียนได้รับคำสั่ง หรือคำชี้แจงที่ชัดเจน เข้าใจง่าย เพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สิ่งที่ช่วยในการทำกิจกรรมนี้คือ การสร้างแหล่งเรียนรู้ การจัดทำข้อแนะนำสำหรับผู้เรีย
6.การรวบรวมส่วนประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น เพิ่ม Introduction และ conclusion ส่วนเพิ่มเติมของครู ใส่ graphics ต่างๆที่จะดึงดูดผู้เรียน เนื้อหาต่างๆที่เขียนขึ้นใน WebQuests คำศัพท์ที่ใช้ควรเหมาะสมสำหรับกลุ่มของผู้เรียน ระดับอายุของผู้เรียน
7. การประเมินผล เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการเรียนการสอน เพื่อประเมินว่าผู้เรียนได้อะไรหลังผ่านกระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับใด นักเรียนมีส่วนร่วมใน กระบวนการเรียนรู้ โดยพิจารณาตามวัตถุประสงค์ และ Rubrics ซึ่งเป็นเครื่องมือการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การประเมิน มีวิธีที่ให้คะแนนงานของนักเรียน Rubrics เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการประเมินเกณฑ์ที่ซับซ้อนและที่เป็นอัตนัย สามารถแสดงเหตุผลอันเหมาะสมในการประเมินหรือให้คะแนน เป็น การประเมินผล ที่ตรงมากที่สุด นักเรียนเองมีส่วนร่วมในการประเมิน
Rubrics สร้างได้หลายรูปแบบตามระดับของความซับซ้อน มีลักษณะ คือ มุ่งเน้นการวัดที่ระบุ วัตถุประสงค์ (ประสิทธิภาพพฤติกรรมหรือคุณภาพ) มีช่วงให้คะแนนประสิทธิภาพ และ มีมาตรฐาน
ลักษณะของWebQuests ที่ดี คือ 1) เชื่อมโยงทุกคนและทันสมัย 2) ดึงดูดใจ และมีข้อผิดพลาดน้อย 3) งานเป็นที่น่าสนใจและเพิ่มทักษะการคิดขั้นสูง 4) แนวทางการเรียนรู้ตรงกับมาตรฐาน 5) อ่านง่ายตรงกับระดับของนักเรียน
แหล่งข้อมูล
กลุ่มที่ 1 ความหมาย องค์ประกอบ การประยุกต์ใช้: อุบลลักษณ์ – เจริญศรี – สมมาตร (post 4 April 2009)
กลุ่มที่ 2 Taskonomy: รดามณี- ศศิธร (post 4 April 2009)
กลุ่มที่ 3 การออกแบบและจัดทำ WebQuests : วรางคณา – วันเพ็ญ – นิตยา (post 3 April 2009)
วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552
สรุปความรู้จากงาน Group Work 1
สรุปความรู้จากงาน Group Work 1
Web-Based Instruction : WebQuest
การเรียนการสอนผ่านเว็บ Web Based Instruction (WBI) เป็นการเรียนการสอนผ่านเว็บ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้เรียนและครูผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์กัน และเกิดการเรียนรู้จากการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล อภิปราย สรุปแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ได้ชิ้นงานของผู้เรียน การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction เป็นระบบการเรียนการสอนแบบ Hypermedia-based ที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน หลักสูตรการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction มีพื้นฐานในการสอนให้แก้ปัญหาตามสภาพจริง (Solving Real World Problems) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของการศึกษาทางไกล ส่วนWebQuests เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีและความคิดทางการศึกษา (Educational Concept) เข้าด้วยกัน มีความสามารถในการรวบรวมแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต แหล่งข้อมูลออนไลน์ต่างๆ กับการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ students-centered และ การเรียนการสอนผ่านกิจกรรม (Activity-based Learning) เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เกิด Inquiry-Based Learning อย่างมีประสิทธิภาพ Web based Instruction & WebQuest เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่จำเป็นต้องมี Modelในการออกแบบวิธีการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบันซึ่งมีข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่มากมาย มีการใช้ Word Wide Web และ Technology กับmodel ที่เตรียมไว้เพื่อสร้างเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดแก่ผู้เรียน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลที่สำคัญยิ่งในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศจากทั่วโลกเข้าด้วยกันและพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ
ข้อดีของ การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction เป็นการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทุกสถานที่ สามารถใช้สื่อได้หลากหลาย ผู้เรียนสื่อสารปฏิสัมพันธ์กันซึ่งกันผ่านทางเครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ต มีส่วนร่วมในการอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้สอนเห็นความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ทุกเวลาและสถานที่ เหมาะกับผู้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย และระดับสูงขึ้นไป หลักสูตรแบบออนไลน์นั้นยึดหยุ่นได้มากกว่า และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามรูปแบบการเรียน (Learning Style) ของผู้เรียน
ข้อเสียของการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction เช่น การเรียนการสอนระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction นั้นไม่เหมาะสำหรับผู้เรียนทุกคน มีนักศึกษาและครูผู้สอนหลายคนชอบการเรียนการสอนในบรรยากาศห้องเรียนมากกว่า ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้ ผู้เรียนต้องรู้จักแบ่งและบริหารเวลาของตนเอง และต้องเป็นคนกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ต้องรู้จัก update ข้อมูลต่างๆและเทคโนโลยีที่ทันสมัยตลอดเวลา ต้องเป็นผู้ที่มีวิจารณญาณและมีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสม ต้องรู้จักการทำงานด้วยตนเองตามลำพัง เป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหาต่างๆอย่างสร้างสรรค์ ยังมีปัจจัยภายนอกด้านอื่นๆ เช่น การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่จำเป็นต้องสะดวกและรวดเร็ว เพราะเมื่อใดที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตล่ม การเรียนการสอนและการสื่อสารของผู้เรียนผู้สอนจะอาจจะมีอุปสรรค สิ่งสำคัญในการเรียนผ่านเว็บ จะประสบความสำเร็จได้นั้น 1. ควรศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานและความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษานั้น และทั้งคณาจารย์ หลักสูตร ห้องสมุด ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่รองรับ 2.ควรคำนึงถึงความพร้อมของตนเองด้าน Technical Skill และอุปกรณ์ในการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย 3. ผู้เรียนต้องมีทักษะในการบริหารเวลาในการเรียน และการส่งงาน ให้มีประสิทธิภาพ
Online Learning : การเรียนแบบออนไลน์
การเรียนแบบ Online ได้รับการยกย่องว่า เป็น "การเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา" เพราะเป็นการเรียนที่มีประสิทธิภาพ สะดวก และเปิดโอกาสให้กับการเรียนรู้มากกว่าการเรียนแบบทั่วไป การเรียนแบบ Online มุ่งผลที่ได้จากกระบวนการเรียนมากกว่าดูที่กระบวนการเรียนการสอน ข้อเสียที่พบในการเรียนแบบปกติคือ เป็นการเรียนแบบบรรยาย ติว ส่งการบ้าน หรือค้นคว้าในห้องสมุดการเรียน จะจำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน ครูขาดความเอาใจใส่ในห้องเรียน ความเบื่อหน่าย ความรู้ที่ล้าสมัยและความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลายแตกต่างกัน
การเรียนแบบ Online จึงเป็นการวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเรียนแบบปกติ เช่น Active Learning
(การเรียนแบบกระตุ้น) และการเรียนแบบร่วมมือ มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยตั้งความหวังว่าเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนให้การศึกษาดีขึ้น การพัฒนาห้องเรียนให้เป็น ห้องเรียนอิเล็คทรอนิค เป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนแบบออนไลน์ เป็นการเชื่อมโยงการวางแผนกิจกรรมกับการเรียนการสอนของผู้เรียนโดยใช้อินเตอร์เน็ต มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลจากเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ สิ่งสำคัญของการเรียนแบบ Online คือ ความไม่ยึดติดกับเวลา (Time-Independence) รูปแบบบทความงานเขียน (Text Format) สื่อคอมพิวเตอร์ บทสนทนาที่หลากหลายความคิด และรูปแบบการของมีส่วนร่วม การออกแบบการเรียนแบบ Online ให้อยู่บนโครงสร้างที่ไม่หยุดนิ่ง และหลักการที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการเรียน ค้นหาตนเองได้ การเรียนแบบนี้ต้องอาศัยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การสืบค้นหาข้อมูล และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องเวลา การเรียน Online เปิดกว้างให้แก่ผู้เรียน ดังนั้นต้องมีวางแผนการเรียน การทำกิจกรรม งานกลุ่ม การอภิปรายร่วมกัน ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการทำงานกับเพื่อน และต้องติดต่อสื่อสารกันโดยใช้โทรศัพท์ อีเมลล์ อภิปรายในบอร์ด หรือนัดหมายเพื่อพบกัน
สิ่งสำคัญที่ทำให้การเรียนแบบ Onlineได้ผลดีที่สุดคือ การมีวินัยในตนเองและการกระตุ้นตัวเองอยู่เสมอ ความ สามารถใช้เทคโนโลยี มีเวลาในการทำงานปกติ การบริหารจัดการได้อย่างอิสระ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของห้องเรียน เช่น chat, อภิปราย ฯลฯ
eLearning / Blended Learning
e-Learning วิธีการเรียนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในรูปของสื่อ มัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ฯลฯ e-learning เป็นการ สร้างประสิทธิภาพ ทางการเรียนให้มีมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนจากสื่อข้อความเพียงอย่างเดียว ข้อได้เปรียบของe-Learningต่างจากสื่ออื่น คือเนื้อหาการเรียนแบบ e-Learning อยู่ในรูปของข้อความอิเล็กทรอนิกส์ (e-text) การเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ ด้วยความสะดวกและรวดเร็ว มีความคงทนของข้อมูล และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ข้อดี ของ e-Learning คือ ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องใช้กระดาษ มีค่าใช้จ่ายต่ำ และมีความสะดวก และยืดหยุ่นในการกำหนดตารางเวลา เรียน ข้อเสียของ e-Learning คือ การใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต Blended learningเป็น การเรียนรู้ที่ใช้นวัตกรรมหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน Blended learning ทำให้ครูผู้สอน และนักเรียน ปรับตัวเข้าหากัน การสอน แบบ e-learning และ Blended learning คือ กำหนดแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ ช่วยผู้เรียน เรียนรู้สะดวกขึ้น ครูมีส่วนช่วยนักเรียนให้มีทักษะการใช้เทคโนโลยี และอินเตอร์เน็ต การพัฒนาการเรียนแบบ e-Learning เหมาะสมกับการเรียนแบบon-lineมาก เช่น ในระดับอุดมศึกษากับ การเรียนทางไกล หรือใช้ร่วมกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน ที่ครูกับนักเรียนพบกัน หรือ ใช้ Blended learning กับการเรียนรู้ที่ผสมผสานนวัตกรรมหลายรูปแบบ
กลุ่มที่1Web-Based Instruction: WebQuest : อัฐกฤชฏ์ – วรางคณา – เจริญศรี (Post : March 28, 2009)
กลุ่มที่2Online Learning : รดามณี – นิตยา – อุบลลักษณ์ (Post : March 28, 2009)
กลุ่มที่3eLearning/Blended Learning : ศศิธร – วันเพ็ญ – สมมาตร (Post : March 29, 2009)
Web-Based Instruction : WebQuest
การเรียนการสอนผ่านเว็บ Web Based Instruction (WBI) เป็นการเรียนการสอนผ่านเว็บ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้เรียนและครูผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์กัน และเกิดการเรียนรู้จากการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล อภิปราย สรุปแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ได้ชิ้นงานของผู้เรียน การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction เป็นระบบการเรียนการสอนแบบ Hypermedia-based ที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน หลักสูตรการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction มีพื้นฐานในการสอนให้แก้ปัญหาตามสภาพจริง (Solving Real World Problems) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของการศึกษาทางไกล ส่วนWebQuests เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีและความคิดทางการศึกษา (Educational Concept) เข้าด้วยกัน มีความสามารถในการรวบรวมแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต แหล่งข้อมูลออนไลน์ต่างๆ กับการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ students-centered และ การเรียนการสอนผ่านกิจกรรม (Activity-based Learning) เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เกิด Inquiry-Based Learning อย่างมีประสิทธิภาพ Web based Instruction & WebQuest เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่จำเป็นต้องมี Modelในการออกแบบวิธีการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบันซึ่งมีข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่มากมาย มีการใช้ Word Wide Web และ Technology กับmodel ที่เตรียมไว้เพื่อสร้างเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดแก่ผู้เรียน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลที่สำคัญยิ่งในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศจากทั่วโลกเข้าด้วยกันและพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ
ข้อดีของ การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction เป็นการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทุกสถานที่ สามารถใช้สื่อได้หลากหลาย ผู้เรียนสื่อสารปฏิสัมพันธ์กันซึ่งกันผ่านทางเครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ต มีส่วนร่วมในการอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้สอนเห็นความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ทุกเวลาและสถานที่ เหมาะกับผู้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย และระดับสูงขึ้นไป หลักสูตรแบบออนไลน์นั้นยึดหยุ่นได้มากกว่า และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามรูปแบบการเรียน (Learning Style) ของผู้เรียน
ข้อเสียของการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction เช่น การเรียนการสอนระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction นั้นไม่เหมาะสำหรับผู้เรียนทุกคน มีนักศึกษาและครูผู้สอนหลายคนชอบการเรียนการสอนในบรรยากาศห้องเรียนมากกว่า ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้ ผู้เรียนต้องรู้จักแบ่งและบริหารเวลาของตนเอง และต้องเป็นคนกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ต้องรู้จัก update ข้อมูลต่างๆและเทคโนโลยีที่ทันสมัยตลอดเวลา ต้องเป็นผู้ที่มีวิจารณญาณและมีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสม ต้องรู้จักการทำงานด้วยตนเองตามลำพัง เป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหาต่างๆอย่างสร้างสรรค์ ยังมีปัจจัยภายนอกด้านอื่นๆ เช่น การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่จำเป็นต้องสะดวกและรวดเร็ว เพราะเมื่อใดที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตล่ม การเรียนการสอนและการสื่อสารของผู้เรียนผู้สอนจะอาจจะมีอุปสรรค สิ่งสำคัญในการเรียนผ่านเว็บ จะประสบความสำเร็จได้นั้น 1. ควรศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานและความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษานั้น และทั้งคณาจารย์ หลักสูตร ห้องสมุด ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่รองรับ 2.ควรคำนึงถึงความพร้อมของตนเองด้าน Technical Skill และอุปกรณ์ในการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย 3. ผู้เรียนต้องมีทักษะในการบริหารเวลาในการเรียน และการส่งงาน ให้มีประสิทธิภาพ
Online Learning : การเรียนแบบออนไลน์
การเรียนแบบ Online ได้รับการยกย่องว่า เป็น "การเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา" เพราะเป็นการเรียนที่มีประสิทธิภาพ สะดวก และเปิดโอกาสให้กับการเรียนรู้มากกว่าการเรียนแบบทั่วไป การเรียนแบบ Online มุ่งผลที่ได้จากกระบวนการเรียนมากกว่าดูที่กระบวนการเรียนการสอน ข้อเสียที่พบในการเรียนแบบปกติคือ เป็นการเรียนแบบบรรยาย ติว ส่งการบ้าน หรือค้นคว้าในห้องสมุดการเรียน จะจำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน ครูขาดความเอาใจใส่ในห้องเรียน ความเบื่อหน่าย ความรู้ที่ล้าสมัยและความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลายแตกต่างกัน
การเรียนแบบ Online จึงเป็นการวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเรียนแบบปกติ เช่น Active Learning
(การเรียนแบบกระตุ้น) และการเรียนแบบร่วมมือ มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยตั้งความหวังว่าเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนให้การศึกษาดีขึ้น การพัฒนาห้องเรียนให้เป็น ห้องเรียนอิเล็คทรอนิค เป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนแบบออนไลน์ เป็นการเชื่อมโยงการวางแผนกิจกรรมกับการเรียนการสอนของผู้เรียนโดยใช้อินเตอร์เน็ต มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลจากเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ สิ่งสำคัญของการเรียนแบบ Online คือ ความไม่ยึดติดกับเวลา (Time-Independence) รูปแบบบทความงานเขียน (Text Format) สื่อคอมพิวเตอร์ บทสนทนาที่หลากหลายความคิด และรูปแบบการของมีส่วนร่วม การออกแบบการเรียนแบบ Online ให้อยู่บนโครงสร้างที่ไม่หยุดนิ่ง และหลักการที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการเรียน ค้นหาตนเองได้ การเรียนแบบนี้ต้องอาศัยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การสืบค้นหาข้อมูล และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องเวลา การเรียน Online เปิดกว้างให้แก่ผู้เรียน ดังนั้นต้องมีวางแผนการเรียน การทำกิจกรรม งานกลุ่ม การอภิปรายร่วมกัน ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการทำงานกับเพื่อน และต้องติดต่อสื่อสารกันโดยใช้โทรศัพท์ อีเมลล์ อภิปรายในบอร์ด หรือนัดหมายเพื่อพบกัน
สิ่งสำคัญที่ทำให้การเรียนแบบ Onlineได้ผลดีที่สุดคือ การมีวินัยในตนเองและการกระตุ้นตัวเองอยู่เสมอ ความ สามารถใช้เทคโนโลยี มีเวลาในการทำงานปกติ การบริหารจัดการได้อย่างอิสระ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของห้องเรียน เช่น chat, อภิปราย ฯลฯ
eLearning / Blended Learning
e-Learning วิธีการเรียนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในรูปของสื่อ มัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ฯลฯ e-learning เป็นการ สร้างประสิทธิภาพ ทางการเรียนให้มีมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนจากสื่อข้อความเพียงอย่างเดียว ข้อได้เปรียบของe-Learningต่างจากสื่ออื่น คือเนื้อหาการเรียนแบบ e-Learning อยู่ในรูปของข้อความอิเล็กทรอนิกส์ (e-text) การเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ ด้วยความสะดวกและรวดเร็ว มีความคงทนของข้อมูล และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ข้อดี ของ e-Learning คือ ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องใช้กระดาษ มีค่าใช้จ่ายต่ำ และมีความสะดวก และยืดหยุ่นในการกำหนดตารางเวลา เรียน ข้อเสียของ e-Learning คือ การใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต Blended learningเป็น การเรียนรู้ที่ใช้นวัตกรรมหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน Blended learning ทำให้ครูผู้สอน และนักเรียน ปรับตัวเข้าหากัน การสอน แบบ e-learning และ Blended learning คือ กำหนดแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ ช่วยผู้เรียน เรียนรู้สะดวกขึ้น ครูมีส่วนช่วยนักเรียนให้มีทักษะการใช้เทคโนโลยี และอินเตอร์เน็ต การพัฒนาการเรียนแบบ e-Learning เหมาะสมกับการเรียนแบบon-lineมาก เช่น ในระดับอุดมศึกษากับ การเรียนทางไกล หรือใช้ร่วมกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน ที่ครูกับนักเรียนพบกัน หรือ ใช้ Blended learning กับการเรียนรู้ที่ผสมผสานนวัตกรรมหลายรูปแบบ
กลุ่มที่1Web-Based Instruction: WebQuest : อัฐกฤชฏ์ – วรางคณา – เจริญศรี (Post : March 28, 2009)
กลุ่มที่2Online Learning : รดามณี – นิตยา – อุบลลักษณ์ (Post : March 28, 2009)
กลุ่มที่3eLearning/Blended Learning : ศศิธร – วันเพ็ญ – สมมาตร (Post : March 29, 2009)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)