วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

What is a WebQuest ?

WebQuests คืออะไร
เว็บเควสท์ เป็นรูปแบบบทเรียนแบบสืบสวนสอบสวน ที่เรียนรู้จากข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญ และส่วนใหญ่เป็นการให้นักเรียนได้เรียนรู้จากเว็บ Bernie Dodge พัฒนารูปแบบการเรียนนี้ ที่ มลรัฐซานดิเอโก สหรัฐอเมริกา ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1995 Tom March ซึ่งเป็นคณะทำงานท้องถิ่นที่มลรัฐซานดิเอโก ได้มีส่วนร่วมในการนำมาใช้ ที่สมาคมฝึกหัดครู ในภาคเรียนฤดูร้อน
ตั้งแต่นั้นมา มีครูมากมายหลายล้านคนรวบรวมเว็บเควสท์จากอินเทอร์เนต ซึ่งมีวิธีการใช้มากมายที่เหมาะกับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 รูปแบบการสอนนี้แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะในบราซิล สเปน จีน ออสเตรเลีย และ ฮอล์แลนด์
เว็บเควสท์ ในรูปแบบของ ดร.อลิส คริสตี้ ประกอบด้วย บทนำ ซึ่งเป็นการพัฒนาหน่วยการเรียนหรือบทเรียนของนักเรียนที่มีการทำกิจกรรมร่วมกันตามหัวข้อในหลักสูตรให้นักเรียนมีความสนใจ ปฏิบัติได้ โดยครูเป็นผู้เตรียมแหล่งข้อมูลได้ตามที่ต้องการ เพื่อให้ได้งานที่สมบูรณ์ มีเกณฑ์สำหรับการวัดประเมินผลนักเรียนขณะเรียนตามที่ผู้เรียนเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในการเรียนจาก เว็บเควสท์ ทำให้เกิดประสิทธิภาพ เว็บเควสท์ เป็นแนวทางของกระบวนการเรียนเป็นขั้นตอน นักเรียนมีความสนใจที่ชัดเจนจากเทคโนโลยีชั้นสูง ดังนั้นครูผู้สอนคิดสร้างบทเรียนนี้ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนสร้างชิ้นงานที่เป็นไปได้ ข้อแตกต่างของ เว็บเควสท์นั้น ประกอบด้วย ข้อมูลที่สามารถตรวจสอบได้ มีคำ หัวข้อหรือเรื่อง ให้ศึกษา หรือสื่อสารระหว่างกัน การอภิปรายหัวข้อที่ได้จากการวิเคราะห์จากสถานการณ์ บทบาทสมมติจากออนไลน์ ไม่มีแหล่งข้อมูลที่ไม่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ นั่นหมายความว่าสามารถใช้เครื่องมือจากห้องสมุด และจากการสัมภาษณ์จากความคิดเห็นหรือการสำรวจ
เว็บเควสท์ เป็นการเรียนรู้ผ่านการสื่อสารหลากหลายวิธี จากแหล่งเรียนรู้มากมายทางอินเทอร์เน็ต Bernie Dodge จากมหาวิทยาลัยในมลรัฐซานดิเอโก มีเว็บเควสท์ 2 รูปแบบ คือแบบระยะสั้น เป็นการนำความรู้ที่ได้มารวบรวมให้สมบูรณ์ เป็นขัอมูลจำนวนมาก ทำให้เสร็จสมบูรณ์ได้ใน 3คาบ และ ระยะยาว เป็นการขยายความรู้ นักเรียนสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลและสาธิตว่านักเรียนเรียนรู้จากการสำรวจ อภิปราย หรือ การตอบสนอง ใช้เวลาทำให้เสร็จสมบูรณ์ได้ใน 1 – 4 สัปดาห์
องค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนเว็บเควสท์ เกี่ยวข้องกับ การพินิจพิเคราะห์ ไตร่ตรอง การร่วมมือ การมีส่วนร่วม ความเชี่ยวชาญ เช่น ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ เปิดใจกว้าง วัฒนธรรมที่หลากหลาย การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา ความมีวินัย จากหลักการของเว็บเควสท์เป็นการทำกิจกรรมร่วมกันของนักเรียน ผ่านกรับวนการและโครงสร้างที่ชี้แนะให้นักเรียนค้นพบผ่านการเรียนรู้ใหม่ๆ
เว็บเควสท์เป็นการเรียนที่ใช้ทักษะอย่างมีเหตุผล ไม่ได้เรียนรู้จาการท่องจำ การเรียนส่วนใหญ่นำไปใช้กับ การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นผลจากนำเว็บเควสท์มาใช้กับประสบการณ์เดิมอย่างหลากหลายวิธีโดยใช้แหล่งเรียนรู้จากข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การวิเคราะห์ การประเมินค่า และ การอนุมาน จากการได้รับข้อมูลทางอินเทอรเน็ต การคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้เว็บเควสท์ ทำให้ผู้เรียนสามารถระบุความเหมือนและแตกต่าง ระหว่างแหล่งเรียนรู้ทางอินเทอร์เน็ต การกำหนดค่าความน่าเชื่อถือจากการรวบรวมข้อมูล และการประเมินค่า การเข้าใจความสำคัญข้อมูล รวบรวมสังเคราะห์ การสรุปข้อมูล สมมติฐาน จากการสรุปจากชิ้นงานโดยเฉพาะ
การเรียนแบบรวมมือ องค์ประกอบสำคัญ ทีนักเรียนสามารถนำส่วนอื่นมาใช้เป็นของตนเองภายใต้การเรียนรู้ของพวกเขาโดยผ่านกระบวนการร่วมมือ การค้นคว้า ที่อำนวยความสะดวก ในขณะที่เรียนในสถานที่ต่างๆการเรียนรู้โดยร่วมมือกัน มีการสื่อสารระหว่างกัน มีการทำแบบฝึกหัด พัฒนาความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจสอบและพัฒนาความคิดที่ดีขึ้น อย่างเช่น การใช้เว็บเควสท์ในการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการฟัง การร่วมมือ การรับรองซึ่งกันและกัน การช่วยให้เกิดการยอมรับและเห็นความแตกต่างในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ซึ่งมีผลมาจากกระบวนการทำงานและความแตกต่างระหว่างบุคคล นับเป็นสิ่งที่ดีมากที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน
ในขณะที่กลุ่มเล็กๆ มีการทำงานร่วมกัน นักเรียนได้เรียนรู้ความคิดเห็นแต่ละคนที่มีผลต่อการใช้ภาษาของสมาชิกในกลุ่ม เมื่อทำกิจกรรมร่วมกันในเว็บเควสท์ นักเรียนจะเห็นความชัดเจนของเนื้อหาหรือจุดมุ่งหมาย จากความคิดที่หลากหลาย การเปิดใจยอมรับ นักเรียนเกิดความคุ้นเคยในวิธีการคิด สามารถเข้าใจในรายละเอียดสิ่งต่างๆ ที่แตกต่างจากตนเอง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมในเว็บเควสท์ ช่วยสนับสนุนให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ผลสะท้อนของเว็บเควสท์ที่มีมุมมองที่สำคัญ เมื่อนักเรียนแสดงออก พวกเขาสามารถวิเคราะห์ ประเมินความคิดของพวกเขาได้จากกระบวนการแก้ปัญหา แสดงถึงความระมัดระวัง ซึ่งความคิดนี้ช่้วยให้นักเรียนเกิดประสบการณ์ จุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญให้ได้ผลผลิตที่เกิดจากกระบวนการสร้างความรู้
เว็บเควสท์ได้พัฒนาวิธีดำเนินการให้มีการควบคุมตนเองเพื่อที่จะเรียนรู้ เมื่อนักเรียนมีการติดต่อ
สื่อสาร เนื้อหาในหลักสูตร ที่ปฏิบัติได้จริง ได้ประสบการณ์จริง สร้างความเข้าใจและเรียนรู้ได้มากกว่าเมื่อใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เว็บเควสท์จะเกิดผลทำให้มีการทำงานร่วมกัน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีใจกว้าง มีความหลากหลาย การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การจัดระเบียบการดำเนินงาน ความมีวินัยในตนเอง
ส่วนประกอบของเว็บเควสท์
_ บทนำ มี 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการปฐมนิเทศนักเรียน ความเป็นมา ส่วนที่สอง เป็นส่วนที่น่าสนใจจะแนะนำฉากและภูมิหลังข้อมูล
_ ชิ้นงาน งานในเว็บเควสท์ เป็นการบรรยายว่า นักเรียนต้องทำอะไรในแบบฝึกหัด ซึ่งเป็นผลงานจากกล้องวิดีโอดิจิทอล โปสการ์ด การนำเสนอแบบพาวเวอร์พอยต์ คำสั่ง ที่อธิบายถึงหัวข้อที่กำหนดที่จะทำให้ชิ้นงานน่าสนใจ
_ กระบวนการ ครูเป็นผู้แนะนำให้นักเรียนเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนว่าควรทำอย่างไรให้ได้งานที่สมบูรณ์ ต้องมีการแบ่งงานย่อย แบ่งบทบาทหน้าที่ให้เชื่อมโยงกับนักเรียนคนอื่น ครูใช้วิธีการแบ่งงานนักเรียน อธิบายบทบาทให้นักเรียนและทำอย่างไรเพื่อที่จะควบคุมให้นักเรียนได้ระดมสมองในการทำกิจกรรม
_ การประเมินผล ใช้ rubic เป็นเกณฑ์การประเมิน ในการเรียนรู้ใช้กับเทคนิคเกี่ยวกับการแบ่งประเภท ทางวิทยาศาสตร์ แต่เราไม่สามารถใช้วัดกับการทดสอบที่มีหลายตัวเลือก
_ การสรุป ได้มาซึ่งบทสุดท้ายของการสำรวจ ย้ำในสิ่งที่นักเรียนค้นพบ การมีส่วนร่วมตามความสนใจ เป็นโอกาสที่ดีที่ที่ให้นักเรียนสรุปรวบรวมประสบการณ์หรือเชื่อมโยงในสิ่งที่นักเรียนเรียนรู้เข้าด้วยกัน
_สิ่งได้รับ นักเรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ ที่มีประโยชน์จากเว็บเควสท์ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการร่วมมือ ในที่สุดนักเรียนก็จะแสดงให้เห็นถึงความมีเหตุผล และความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
_ ส่วนเพิ่มเติมอื่นๆ นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม มีขอบเขตการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างและแลกเปลี่ยนผลงานซึ่งกันและกัน
_ข้อสังเกตของครู ส่วนนี้ประกอบด้วยจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของเว็บเควสท์ ความสามารถในการจัดการ แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมในการวางแผน การใช้เครื่องมือในเว็บเควสท์ที่จัดไว้ให้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์



จาก http://www.alicechristie.org/edtech/wq/about.html

: Jareonsri Kanyubon

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

สรุปการอภิปราย กลุ่มที่ 1

การเรียนการสอนผ่านเว็บ Web Based Instruction และ WebQuests
การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction เป็นการจัดระบบการเรียนการสอนผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้เรียนและครูผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์กัน และเกิดการเรียนรู้จากการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล อภิปราย สรุปแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ได้ชิ้นงานของผู้เรียน การสอนผ่านเว็บเป็นที่รู้จักในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ ปี 1996 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การเรียนการสอนผ่านเว็บ เพื่อการศึกษาทางไกลก็เริ่มแพร่หลายในมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศสหรัฐอเมริกา และแพร่หลายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
จากหนังสือของ Khan (1997) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction ว่า เป็นระบบการเรียนการสอนแบบ Hypermedia-based ที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน นอกจากนี้ เขาได้จำแนกส่วนประกอบที่สมบูรณ์ของระบบ WBI ซึ่งได้แก่ การพัฒนาเนื้อหา softwere, hardwere, และผู้จัดบริการอินเตอร์เน็ต คุณลักษณะของโปรแกรม WBI ถูกจำแนกโดยมีรูปแบบหลักๆ 2 รูปแบบคือ
1. รูปแบบหลักซึ่งปรากฏอยู่ในเว็บ เช่น การปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆทั่วโลก และความสามารถในการค้นหาข้อมูลแบบออนไลน์
2. รูปแบบเพิ่มเติม เช่น ความสะดวกสบาย การเรียนแบบร่วมมือ (Collabolative Learning) การประเมินผลแบบออนไลน์ ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพของการออกแบบ WBI
ข้อดีของ การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction คือ เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทุกสถานที่ สามารถใช้สื่อได้หลากหลาย ผู้เรียนได้สื่อสารปฏิสัมพันธ์กันซึ่งกันโดยผ่านทางเครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ต ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้สอนเห็นความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน นอกจากนี้ มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างผู้เรียนที่เรียนโดยการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction และการเรียนการสอนรูปแบบเดิม พบว่า นักศึกษาที่เรียนทางการออนไลน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีกว่านักศึกษาที่เรียนรูปแบบเดิมในมหาวิทยาลัย แต่อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instructionนี้ นั้นไม่ได้เหมาะสมสำหรับผู้เรียนทุกคน มีนักศึกษาและครูผู้สอนหลายคนชอบการเรียนการสอนในบรรยากาศห้องเรียนมากกว่า แต่สำหรับนักเรียนที่สามารถเรียนรู้เองและทำงานเองได้ตามลำพัง การเรียนทางไกลอาจจะเป็นทางที่ดีกว่าในทางอื่นๆ เพราะผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ทุกเวลาและสถานที่ ซึ่งเหมาะสมกับผู้เรียนที่ต้องทำงานควบคู่ไปกับการเรียน และค่อนข้างเหมาะกับผู้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย และระดับสูงขึ้นไป ด้วยเหตุนี้การบริหารเวลาเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction เป็นอย่างยิ่งเพราะผู้เรียนจำเป็นต้องแบ่งเวลาในการทำงานและการเรียนให้เหมาะสม หลักสูตรแบบออนไลน์นั้นยึดหยุ่นได้มากกว่าและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามรูปแบบการเรียน (Learning Style) ของผู้เรียนได้เหมาะสมกับระดับ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนที่ค่อนข้างหลากหลายมากกว่าการเรียนแบบบรรยายในห้องเรียน หลักสูตรการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction จะมีพื้นฐานในการสอนให้แก้ปัญหาตามสภาพจริง (Solving Real World Problems) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของการศึกษาทางไกล
อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction นั้นก็ข้อเสียบางประการ เช่น ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้ ผู้เรียนต้องรู้จักแบ่งและบริหารเวลาของตนเอง และต้องเป็นคนกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ต้องรู้จัก update ข้อมูลต่างๆและเทคโนโลยีที่ทันสมัยตลอดเวลา ต้องเป็นผู้ที่มีวิจารณญาณและมีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสม ต้องรู้จักการทำงานด้วยตนเองตามลำพัง และนอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหาต่างๆอย่างสร้างสรรค์ นอกจากปัจจัยด้านตัวผู้เรียน ยังมีปัจจัยภายนอกด้านอื่นๆเช่น การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่จำเป็นต้องสะดวกและรวดเร็ว เพราะเมื่อใดที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตล่ม การเรียนการสอนและการสื่อสารของผู้เรียนผู้สอนจะอาจจะมีอุปสรรค
การที่ครูและผู้เรียนจะประสบความสำเร็จในการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction ได้นั้น เราควรคำนึงถึงปัจจัยสำคัญในการเลือกเรียนผ่านเว็บ ดังต่อไปนี้ 1. ประการแรก ควรศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานและความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษานั้น และทั้งคณาจารย์ หลักสูตร ห้องสมุด ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่รองรับ 2. ประการต่อมาควรคำนึงถึงความพร้อมของตนเองด้าน Technical Skill และอุปกรณ์ในการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย 3. ประการสุดท้าย นักศึกษาควรศึกษาเกี่ยวกับเวลาในการเรียน และการส่งงาน ซึ่งการเรียนการสอนผ่านเว็บนี้นั้นค่อนข้างยึดหยุ่นในเรื่องของเวลา ด้วยเหตุนี้นักศึกษาจำเป็นต้องมีทักษะในการบริหารเวลาที่มีประสิทธิภาพ นอกจากการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบัน WebQuests เริ่มมีบทบาทในการผสมผสานเทคโนโลยีและความคิดทางการศึกษา (Educational Concept) เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิด Inquiry-Based Learning นอกจากนี้ WebQuests ยังมีความสามารถในการรวบรวม แหล่งข้อมูลออนไลน์ต่างๆ กับการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ students-centered และ การเรียนการสอนผ่านกิจกรรม (Activity-based Learning) เข้าไว้ด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่ Sunal and Hass (2002) (อ้างใน Vanguri และคณะ (2004)) ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับ WebQuests กล่าวคือ WebQuests เป็นกิจกรรมในการสอนการแก้ปัญหา (Problem-solving activities) สำหรับนักเรียนที่สามารถรวบรวม แหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต สื่อการเรียนการสอนในคอมพิวเตอร์ และแหล่งข้อมูลอื่นๆเข้าไว้ด้วยกัน
WebQuests กลายเป็นวิธีการสอนที่รวมเทคโนโลยีและ ความคิดทางการศึกษา (Educational Concept) ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน WebQuests เกิดจากการริเริ่ม ของ Bernie Dodge และ Tom March จาก San Diego State University ในปี 1995 Bernie Dodge ได้รวบรวมข้อมูลและแหล่งข้อมูล ทางอินเตอร์เน็ตที่สนับสนุน แผนการสอนของเขาให้แก่นักเรียน นวัตกรรมแปลกใหม่และสามารถเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางของเขาชิ้นนี้ นั้นมีความสามารถในการรวบรวม แหล่งข้อมูลแบบออนไลน์ กับการเรียนการสอนผ่านกิจกรรม การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงกับการเรียนรู้ผ่านเนื้อหา(Content-based Learning) ในรูปแบบ WebQuests อาจจะเป็นข้อพิสูจน์ถึงความสำเร็จของการเรียนรู้ทางเลือกให้แก่ผู้เรียนได้อีกวิธีการหนึ่ง Tom March ก็เป็นอีกหนึ่งในผู้พัฒนา WebQuests กล่าวว่า WebQuests นี้ช่วยให้นักเรียนสร้างความหมายของหัวข้อที่ซับซ้อน และเป็นแนวทางในการกระตุ้นให้นักเรียนสามารถทำงานและทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน และสามารถตรวจสอบความรู้และความคิดของนักเรียนในบริบทที่แท้จริง มีการวิจัยอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยใช้ WebQuests เช่น Lipscomb (2003) ได้วิจัยเกี่ยวกับการใช้ WebQuests ในห้องเรียนเกรดแปดวิชาสังคมศึกษา เพื่อจัดทำโครงงานเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่2 และศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านการเรียนการสอน และการใช้เวลาในการทำกิจกรรม เนื่องจากนักเรียนไม่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ WebQuests มาก่อน ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องจัดอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้ WebQuests เบื้องต้น เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองพบว่า นักเรียนสามารถสร้างสรรค์บทความเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่2 โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมใน บทเรียน WebQuests ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้กล่าวว่านอกจากในวิชาสังคมศึกษาแล้ว WebQuests ยังสามารถใช้ในวิชาอื่นๆได้อีกด้วย เช่นในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตช่วยให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านกิจกรรมของ WebQuests กระบวนการที่จำเป็นในการสืบค้นข้อมูล คือ ความสามารถของครูผู้สอนในการสร้างเครื่องมือนำทาง (navigation) ผ่าน a web page story board ในกระบวนการนี้ครูผู้สอนต้องสามารถสร้าง flowchart ในการระบุความก้าวหน้าของนักเรียนตามโครงงานแบบ WebQuests การเรียนการสอนโดยใช้ WebQuests ยังคงเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จในการให้นักเรียนได้เชื่อมต่อกับสื่อการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ แต่สิ่งที่ควรตระหนักในเบื้องต้นคือ ครูผู้สอนควรตระหนักถึงความสำคัญในการตั้งปัญหา หรือกำหนดแผนงานสำหรับนักเรียนเพื่อให้สำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การตั้งปัญหาหรือแผนงานยังต้องการการกระตุ้นที่เพียงพอเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนสามารถสืบค้นและอ้างอิงข้อมูลออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ครูผู้สอนควรตระหนักเกี่ยวกับความสามารถทางด้านเทคโนโลยีของผู้เรียน และตัวผู้สอนเองในการที่จะสร้างผลสัมฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพ กล่าวโดยสรุปคือ Web based Instruction & WebQuest เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่จำเป็นต้องมี Modelในการออกแบบวิธีการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบันซึ่งมีข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่มากมาย มีการใช้ Word Wide Web และ Technology กับmodel ที่เตรียมไว้เพื่อสร้างเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดแก่ผู้เรียน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลที่สำคัญยิ่งในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศจากทั่วโลกเข้าด้วยกัน เสมือนดั่งขุมทรัพย์ข้อมูลข่าวสารที่สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บจึงเหมาะสมกับการจัดการศึกษาในปัจจุบันเพราะในกระแสแห่งยุคโลกาภิวัตน์ ทั้งครูและผู้เรียนจำเป็นต้องก้าวให้ทันตามยุคตามสมัย เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนและพัฒนาการเรียนการสอนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างผู้เรียนเอง อย่างต่อเนื่องได้ตลอดเวลา แม้ในระยะทางห่างไกล อ้างอิงจากhttp://www.emporia.edu/earthsci/web_inst.htm
www.chaiweb.com
http://www.ncolr.org/jiol/issues/PDF/3.2.5.pdf
http://questioning.org/module/module.html
http://www.moorbrook.demon.co.uk/guide.html