วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การนำเสนอผลงานWebQuest Project


ผลงานโครงการบทเรียนเว็บเควส ชั้นประถมศึกษาปีที่1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต จากการศึกษาโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้โครงสร้างหลักสูตรรายวิชา วิทยาศาสตร์ 1ที่มีสาระ/มาตรฐาน/ตัวชี้วัดและคำอธิบายรายวิชา คิดชื่อหน่วยการเรียนรู้ วิเคราะห์เนื้อความรู้ จากสาระ1สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต บูรณาการกับสาระที่ 8 ทักษะทางวิทยาศาสตร์ คือ การสังเกต การเปรียบเทียบ การนำเสนอผลงานได้ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจุดประสงค์ของหน่วยย่อยที่ 1 และจุดประสงค์ของCompilation Task กลายเป็นจุดประสงค์ของwebquest คือ เปรียบเทียบและบอกความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งที่คาดหวังจากนักเรียนคือ นักเรียนมีทักษะการคิด การสังเกต การจดบันทึก การนำเสนอผลงานของนักเรียนคือการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนของนักเรียนทั้ง 3 กลุ่มด้วยภาพวาด /แผนภาพ /ตาราง ที่แสดงความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต
2.การทำ WebQuest ตามวิธีทำงานที่ตนเองจากการทำรายงานใน Group1Work1 และจากการศึกษาตัวอย่างจากแผ่นซีดีดรอมวิชา 162531และเว็บเควสตัวอย่างได้ เขียนไฟล์สคริปต์บทเรียนเว็บเควส เริ่มทำ Project WebQuest เรื่อง สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โดยออกแบบเว็บเควสเป็น Compilation Task เพื่อให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้เรื่อง สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตจาก เว็บไซต์หลายเวบไซต์ โดยเริ่มจากบทนำที่กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียน โดยใช้คำถาม (Quest )กำหนดไว้ใน นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อปฏิบัติตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในProcess แต่ละขั้นตอนจะมีใบงาน/แบบฝึกหัดเป็นสื่อที่ครูต้องเตรียมเพื่อนำทางให้นักเรียนไปสู่คำตอบที่นักเรียนแต่ละกลุ่มต้องค้นคว้าให้ได้ผลงานเพื่อตอบคำถามให้ได้ว่าสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตมีความแตกต่างกัน โดยค้นคว้า Resourcesจากเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ที่ครูจัดไว้เป็น 2 กลุ่ม คือสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต นักเรียนมีการทำงานเป็นกลุ่ม มีการสังเกต จดบันทึก เพื่อหาคำตอบว่าสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตมีความแตกต่างกัน นักเรียนแต่ละกลุ่มได้ผลงานที่แตกต่างกัน แต่อยู่ในหัวข้อเดียวกัน แล้วนำเสนอผลงานให้ครูและเพื่อนๆฟังหน้าชั้นเรียน ครูจะประเมินผลงานจากRubic ตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนดค่าคะแนนไว้ชัดเจน เมื่อนักเรียนทุกกลุ่มปฏิบัติตามขั้นตอนทั้งหมด นักเรียนต้องใช้ทักษะการวิเคราะห์ สรุปความรู้ และสรุปผล ส่วน Conclusion จะเน้นย้ำว่าเมื่อเรียนรู้จบแล้ว นักเรียนรู้และตอบคำถามในTaskได้ว่าสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตมีความแตกต่างกัน
จากการทำ WebQuest
จากการเรียนและฝึกปฏิบัติในห้องเรียน ได้ใช้ทักษะความรู้ สร้าง Project WebQuest ด้วย Template จากการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ออกแบบ และแก้ไข หน้าจอของ WebQuestด้วยโปรแกรม Dreamweaver 8 ที่หน้าจอต่างๆ ,การlink เชื่อมต่อเครือข่าย Word Wide Web,การสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์(PDF),การแก้ไข webpage ของ index โดยใช้ notepad การฝึกปฏิบัติโปรแกรมช่วยสร้างกิจกรรม Hotpotatoes สร้างแบบฝึกและแบบทดสอบ
จากการทำงานออนไลน์ ทั้งงานกลุ่ม และงานรายบุคคลใช้ทักษะ การสื่อสารผ่านระบบบริหารจัดการเรียนรู้KU-LMS และที่ web pirun ,การใช้ keyword ค้นหา ใน Google เรื่อง webquest จากเวบไซต์ต่างประเทศ ,การทำไฟล์สคริปต์ บทเรียนเว็บเควส การจัดทำแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ (ePortfolio) ผ่าน pirun website และติดต่อส่งงานกับอาจารย์ที่ hotmail และ KU-Webmail
ขอขอบคุณ รศ.ดร.มธุรส จงชัยกิจ อาจารย์ประจำวิชาที่ถ่ายทอดความรู้ให้นิสิตทุกคนอย่างมุ่งมั่นตั้งใจจริง ขอบคุณค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

“ สรุปองค์ความรู้ รายวิชา 162531 – 2009 ”


องค์ความรู้ที่ได้จากการเรียน รายวิชา16253 ทั้งที่เป็นการฝึกปฏิบัติในห้องเรียน และนอกห้องเรียน รวมทั้งการค้นคว้าผ่านเว็บไซต์ ที่เป็น Resourses ของต่างประเทศนั้น ทำให้ได้ความรู้จากการเรียนที่มีการสื่อสารระหว่างอาจารย์กับนิสิต และระหว่างนิสิตกับนิสิต โดยใช้คอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบอินเตอร์เนต ซึ่งเป็นการใช้ เทคโนโลยีผ่านระบบเครือข่ายที่มีการใช้พร้อมโปรแกรมพิเศษต่าง ๆ เช่น Internet Explorer,BrowserID,Browser Firefox,การสื่อสารข้อมูล โดยการพูด และ เขียนผ่านทาง M@xLearn,Weboard, shat, การใช้ e-mail, การใช้ระบบ LMS ส่งผ่านข้อมูลระหว่างอาจารย์กับนิสิต และระหว่างนิสิตกับนิสิต การนำองค์ความรู้ ใช้พัฒนาตนเอง โดยใช้ทักษะการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทาง KU-Webmail(http://www.ku.ac.th),การส่งงานกลุ่มและงานรายบุคคล KU-LMS(http://course.ku.ac.th,การบริหารเว็บส่วนบุคคล Pirun Website(http://pirun.ku.ac.th,การสร้างweblog(http://jareonsri.blogspot.com)เป็น blog ส่วนตัวของนิสิต ,การเรียนรู้และการสืบค้นจาก เว็บไซต์ต่างประเทศ และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆจาก Hotptatoes – Dreamweaver เพื่อทำ Project WebQuest และUnit WebQuest รวมถึงการเก็บรวบรวมความรู้จากการเรียนรายวิชานี้ ที่Weblog ให้เป็นระบบ
ทักษะต่างๆ ที่ได้จากการใช้งานระบบบริหารจัดการ MAXLEARN
- การเข้าใช้งานระบบบริหารจัดการ MAXLEARN ที่ URL : https://course.ku.ac.th Log in ใส่User Name และ Password ของตนเองจากนั้นคลิกเมนูด้านบนที่ข้อมูลรายวิชา 162531โดยเลือกเมนูต่าง ๆที่กรอบด้านซ้ายมีแผนการสอน , CResources , SHowcase , TalkAjarn , Talkstd , GroupWork 1-4
- การคุยโต้ตอบ แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ และครูเข้า : https://course.ku.ac.th Log in ใส่User Name และ Passwordของตนเองจากนั้นคลิกเมนูด้านบนที่ข้อมูลรายวิชา 162531โดยเลือกเมนูเข้าTalkAjarn เพื่อปรึกษาขอคำแนะนำจากอาจารย์ ผู้สอนที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน, เข้า Talkstd เพื่อพูดคุย หรือปรึกษากันระหว่างเพื่อนในเรื่องต่างๆ โดย คลิก New Contribution และ send เพื่อส่งข้อความ และ เลือก Edit เพื่อแก้ไขข้อความได้
- การส่งงานที่เป็นไฟล์เป็นรายงาน เลือกเมนูด้ายซ้ายที่มีรูปแผ่นดิสก์ คลิกเข้าไปพบตารางการสั่งงาน คลิกเข้าไปในช่องที่มีคำว่า ส่ง คลิก Browseแนบไฟล์ ที่ต้องการส่ง ที่ตั้งชื่อเรียบร้อยแล้ว และมีขนาด ไฟล์ตามที่กำหนดไว้ไม่เกิน 2MB เมื่อแนบไฟล์เสร็จ คลิก send ชื่อไฟล์จะโชว์ให้เห็นที่กรอบสีขาวด้านล่าง ถ้าต้องการแก้ไข เปลี่ยนแปลง ให้คลิก delete และส่งใหม่ตามวธีการเดิม เมื่อส่งเรียบร้อยคำว่า ในตารางคำว่าส่ง จะเปลี่ยนเป็นคำว่า แก้ไข
-สิ่งที่ต้องระวังและแก้ไขก่อนอื่นเมื่อใช้งาน Web Board ให้คลิก Editreferenceรูปสี่เหลี่ยมสีขาวด้านบนปรับแก้จำนวนวัน ได้ตั้งแต่2 หลักขึ้นไป(อยู่ด้านบนที่มี new,search,รูปสี่เหลี่ยมสีขาวด้านบน)จะมีข้อความแสดงให้เห็นหลังจากแก้ไขจำนวนวันแล้ว
- การเปิดดูเฉพาะกรอบด้านขวามือ โดยไม่มีเมนูต่าง ๆ อยู่ทางซ้าย ให้ คลิกเม้าท์ด้านขวา และ คลิก Open New window
ขอเสนอแนะอื่น ๆ สําหรับรายวิชานี้ (ถ้ามี )
อาจารย์มีความรู้ที่ต้องการถ่ายทอดมาก และactive ตลอดเวลา ทำให้อาจารย์สอนเร็วมาก นิสิตต้องตามให้ทันตลอดเวลา นิสิตต้องมีความรู้พื้นฐาน ทางคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญ คือ การฝึกปฏิบัติบ่อย ๆ นอกจากการเรียนในห้องเรียน และการจดบันทึกในรายละเอียดที่อาจารย์สอน ทำให้จำขั้นตอนต่างๆได้ดี บางครั้งก็เป็นเทคนิคเล็กๆน้อยๆที่นำ ไปใช้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น