วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

Alternative Assessment Primer
การประเมินทางเลือกที่หลากหลายคืออะไร
การประเมินที่หลากหลายเป็นคำจำกัดความที่พูดถึงวิธีการประเมินที่แสดงให้เห็นถึงทักษะความรู้ การคิด วิเคราะห์ และความสามารถทางทักษะจากการทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ มากกว่าการประเมินจากการถามตอบ ทั่วๆไป ซึ่งไม่สามารถประเมินได้จากข้อสอบปรนัย หรือเลือกตอบถูก-ผิด แต่ในขณะเดียวกัน ความรู้พื้นฐาน ยังเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน
การประเมินที่หลากหลายคล้ายกับอะไร
การประเมินที่หลากหลายมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของวิชา ทักษะ และความรู้ โดยทั่วไปแล้วการประเมินนี้จะแสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้จากการสร้างผลงาน หรือการตอบปากเปล่า หรือการทำงาน รูปแบบของการประเมินที่หลากหลาย คล้ายกับการประเมินพฤติกรรมจากการปฏิบัติ การประเมินตามสภาพจริง และการประเมินจากแฟ้มผลงาน
1. การประเมินพฤติกรรมจากการปฏิบัติ (Performance Assessment) เป็นหมายถึงการประเมินพฤติกรรมที่ได้จากการสังเกตภายใต้สถานการณ์ต่างๆ เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ไม่ค่อยมีการประเมินแบบปรนัย เพราะนักเรียนใช้เวลาเรียนอยู่ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ การประเมินจะเป็นการเขียนผลการทดลอง หรือการทำรายงาน
2. การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)เป็นการประเมินจากความเป็นจริง ข้อเท็จจริง สภาพจริงทีขึ้น หลังจากที่นักเรียนผ่านการเรียนรู้
3. การประเมินจากแฟ้มผลงาน (Portfolio Assessment) เป็นการประเมินจากผลงานนักเรียนที่เสร็จสมบูรณ์ ครูใช้ผลงานนักเรียนเพื่อทบทวนและเลือกผลงานที่ดีที่สุด ที่แสดงให้เห็นถึงการบรรลุตามจุดประสงค์ แฟ้มสะสมผลงานเป็นได้ทั้งแบบทดสอบ บทเรียนคอมพิวเตอร์ การจับคู่ แต่สุดท้ายนักเรียนต้องได้ผลงานหรือหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่านักเรียนผ่านการประเมิน
เราไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างการประเมินกับการเรียนการสอน แต่การประเมินที่หลากหลาย ( Alternative Assessment )มีลักษณะเด่นแตกต่างจากการประเมินทั่วไป เพราะ มีจุดประสงค์บ่งบอกให้รู้ถึงวิธีการประเมินที่ต่างจากการเรียนรู้ ส่วนสำคัญนี้จะบอกไว้ในจุดประสงค์การประเมิน เป็นการประเมินที่มีการเปิดเผยแสดงให้เห็นถึงมาตรฐานในการประเมินผล ที่เรียกว่า รูบริค (Rubric) ซึ่งประกอบด้วยระดับของรายละเอียดของมาตรฐานที่บ่งบอกถึงความสามารถที่ใช้ในการประเมิน และเปรียบเทียบความแตกต่างให้เห็นอย่างความชัดเจน
ทำไมต้องใช้ Alternative Assessment การประเมินแบบนี้เกิดขึ้นจาก การประเมินแบบใช้ข้อสอบในอดีต ซึ่งพบว่าจะใช้ได้กับการออกแบบการเรียนรู้แบบความรู้ความจำ แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น การประเมินแบบเก่าๆ จึงไม่เหมาะกับความซับซ้อน ดังนั้นการสอนให้นักเรียนมีทักษะ ความคิด จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากกว่าความจำ

Match Assessments to the Purposes for Assessment
Sound assessment การประเมินแบบนี้แสดงให้เห็นชัดในการประเมิน (จากมาตรฐานผู้เรียนหรือจุดประสงค์การประเมิน) การตั้งจุดประสงค์ให้สอดคล้องกับการประเมินจะมีผลต่อการออกแบบการประเมิน เพราะการประเมินแต่ละวิชาออกแบบการประเมินไม่เหมือนกัน การออกแบบเพื่อประเมินวิชาคณิตศาสตร์ จะใช้กับข้อสอบแบบปรนัย หรือคำถามสั้นๆ เพราะ ข้อสอบแบบปรนัย หรือคำถามสั้นๆ ถูกออกแบบเพื่อวัดความรู้เฉพาะด้านของนักเรียน ส่วนทักษะทางวิทยาศาสตร์ ก็ไม่เหมาะกับการใช้ข้อสอบแบบปรนัย หรือคำถามสั้นๆ ในบางครั้ง แบบประเมินบางส่วนถูกใช้ไปในการสอบถามของนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ ดังนั้นการออกแบบการประเมินให้เข้ากันได้กับจุดประสงค์จะขึ้นอยู่วิชา และระดับของผู้เรียน
Herman, Aschbacher, and Winter อธิบายไว้ว่า มี 2 จุดประสงค์ที่ใช้การประเมิน ถึงความแตกต่างแต่ละจุดประสงค์ อย่างแรก เพื่อควบคุมให้ผู้เรียนเกิดทักษะ หรือความรู้การประเมินควรจะให้ความสำคัญที่ผลงานของนักเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งได้จากการประเมินโดยตรง หรือ จากผลงานของนักเรียน และสุดท้าย ควรคำนึงถึงระดับความสามารถของผู้เรียน และการวางแผนการใช้เครื่องมือการประเมิน เพราะจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจผิดว่าสิ่งที่เราต้องการประเมิน ว่าเป็นกระบวนการ หรือผลผลผลิต
สรุปได้ว่า การประเมินที่หลากหลายมีรูปแบบใช้ได้อย่างอิสระ ไม่จำกัดรูปแบบที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สอนต้องการประเมินผู้เรียนอย่างไร โดยมีการออกแบบให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ต้องการว่า เพื่ออะไร กับใคร อย่างไร ดังนั้นการประเมินที่หลากหลายมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันที่การออกแบบเพื่อนำไปใช้กับใคร ระดับความรู้ความสามารถ วิชาอะไร เพื่อจุดประสงค์อะไร และสิ่งสำคัญที่ทำให้การประเมินมีความชัดเจน มีมาตรฐานอยู่บนบรรทัดฐานเดียวกัน คือ การกำหนดเกณฑ์การประเมิน (rubric)

resource
http://teachingtoday.glencoe.com/howtoarticles/alternative-assessment-primer
http://www.ncrel.org/sdrs/areas/issues/methods/assment/as7purp.htm

เจริญศรี กันยุบล

ไม่มีความคิดเห็น: