วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

WebQuest รูปแบบใหม่ ของ Tom March


Searching for China WebQuest

1. แต่ละกลุ่มพบความแตกต่างอะไรบ้าง ในแง่ของเมนูต่าง ๆ ที่มีให้ในเว็บเควสแบบใหม่เหล่านี้
 เมนูหลักต่างๆ มี รูปแบบเหมือนเว็บเควสทั่วไป แต่มีส่วนที่เพิ่มจากรูปแบบเดิม คือ Quest(ion)/Task Background , Individual Role , Feedbackและ Dictionary
2. ในแง่ของกิจกรรม แทนที่จะใช้แนวทางแบบTaskology เดิม จุดเน้นในการออกแบบกิจกรรม คืออะไร
 จุดเน้นในการออกแบบกิจกรรมในเว็บเควสรูปแบบใหม่ มี Quest(ion)/Task เพียง 1 คำถามเป็นคำถามปลายเปิด ที่นำไปสู่การเรียนรู้ โดยใช้ Individual Roles เป็นตัวกำหนดกิจกรรม มี Role และ Goal กำหนดบทบาท และจุดมุ่งหมาย ให้ทุกกลุ่มปฏิบัติตามสถานการณ์ เพื่อค้นหาคำตอบจากความรู้ มี Backgroup for Everyone ให้นักเรียนทราบบทบาทในฐานะเป็นทีมของผู้สำรวจหัวข้อต่างๆ มีการเชื่อมโยงกับแหล่งทรัพยากรสำคัญจำเป็นบนเว็บไซต์ ทำให้เว็บไซต์มีความหลากหลาย และมี Real Word Feedbackไว้ให้นักเรียนนำความรู้ที่เกิดจากเว็บเควสมาทดสอบกับความจริง โดยตรวจสอบแนวคิดและความรู้ได้จาก Real Word Feedbackโดย link ไปที่ chat , E-mail , กระดานบอร์ด หรือ หน่วยงานทางราชการที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ช่วยวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดและความรู้ของนักเรียน ช่วยเสริมความรู้ได้มากขึ้น ทำให้นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดกับความเป็นจริง มีRubric ไว้ประเมินผลงานนักเรียน
- กิจกรรมแบบไหน ที่พบในทุกตัวอย่าง ของ WebQuestรูปแบบใหม่
 กิจกรรมแบบ collaboratively การวิเคราะห์ข้อมูล การรับฟังความคิดซึ่งกันและกัน การสรุปข้อมูล การทำงานร่วมกัน ช่วยกันค้นหาคำตอบจากคำถามทีละส่วน และรวบรวมความรู้ที่ได้ สังเคราะห์ให้เป็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
- การถาม/ คำถาม ของครู เปลี่ยนไปจากแบบเดิมไหม อย่างไร
 การใช้คำถามปลายเปิดของครูจาก Individual Roles เพื่อสร้างความสนใจให้นักเรียน ค้นหาคำตอบให้สำเร็จ เริ่มจากให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มตามบทบาทจากคำถามที่ครูกำหนดไว้ใน Individual Roles ทุกกลุ่มทำตามบทบาท(Role)ที่ได้รับ โดยมีจุดมุ่งหมาย(Goal)ให้นักเรียนต้องค้นหาและนำความรู้มาตอบคำถาม เชื่อมโยงทุกคำตอบจากคำถามทั้งหมด รวบรวมให้เกิดความรู้ในหัวข้อนั้น
- มีความคาดหวังเกี่ยวกับผลงานของนักเรียน ที่เปลี่ยนไปจากเดิมไหม และมีมาจากแนวคิดอะไร
 นักเรียนมีการสังเคราะห์ความรู้เป็นรูปแบบการคิดของตนเอง ทำให้ผลงานนักเรียนเปลี่ยนไป แนวคิดนี้ได้มาจากกิจกรรมการนั่งร้านของ Scaffolder คือ กิจกรรมที่ช่วยนักเรียนพัฒนาความคิดที่ถูกต้องทีละส่วน นำนักเรียนเข้าสู่การแก้ปัญหา โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็นภารกิจทีละส่วน แยกส่วนให้แก้ปัญหา หาความรู้มาตอบคำถามทีละส่วนให้ครบทุกส่วน นักเรียนรวบรวมความรู้ทั้งหมดเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ได้
………………………………………………………

Resource Set2
:http://www.kn.pacbell.com/wired/China/ChinaQuest.html
เจริญศรี กันยุบล

Mud Cloth of Mali และ Celebrating Cinco de Mayo


จากการวิเคราะห์ตัวอย่างเว็บเควส เรื่อง Mud Cloth of MaliและCelebrating Cinco de Mayo พบว่า Task แต่ละแบบจะให้กิจกรรมที่ต่างกันตามสาระวิชาที่สอน แต่ Task เดียวกันก็ยัง ใช้สอนสาระที่ต่างกันได้ โดยใช้การบูรณาการ การสร้างชิ้นงานหลักของนักเรียนแต่ละวิชาที่ได้ก็จะมีรูปแบบที่ต่างกัน นั่นหมายความว่า เว็บเควสแต่ละเว็บมีการนำไปใช้ที่เหมือนและแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเนื้อหาวิชา ทักษะและการปฏิบัติกิจกรรมที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียน ดังนั้นการเลือกTask ที่ดีต้องให้เหมาะกับสาระการเรียนรู้ มุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดทักษะความคิดและได้ความรู้ตามที่Task กำหนด แต่การมี Task ที่เหมาะสมอย่างเดียวไม่พอ ครูต้องเลือกเว็บเควสที่น่าสนใจ ให้นักเรียนเกิดไอเดียสร้างผลงาน ในขณะเดียวกัน รูปแบบเว็บเควสที่ซ้ำๆ เหมือนเดิม ก็ทำให้เกิดการพัฒนาเว็บเควสให้มีรูปแบบและหัวข้อเปลี่ยนไป ไม่ยึดติดกับหัวข้อเดิม ทำให้เมนูหลักมีความน่าสนใจ ทั้งชื่อเมนู และหน้าตาของเว็บ กระตุ้นนักเรียนให้เกิดความอยากรู้ คิดวิธีหาคำตอบ แข่งขันกันสร้างผลงาน ส่วนการประเมินผลงานมีเกณฑ์ที่ชัดเจนให้นักเรียนประเมินผลงานตนเองได้ การอำนวยความสะดวกให้ครูและนักเรียน มีการเชื่อมโยงหน้าเว็บให้เชื่อมต่อถึงกันได้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เว็บเควสเกิดการพัฒนาเป็นเว็บเควสรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจยิ่งกว่าเดิม
.......................

Resources Set 1
Mud Cloth of Mali: http://questgarden.com/38/19/2/061219141443/
Celebrating Cinco de Mayo

http://faculty.tamu-commerce.edu/espinoza/projects/557-044/gunnels/wq.html
เจริญศรี กันยุบล

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

การวิเคราะห์เว็บเควส


1. Taskology
Taskology มีกิจกรรมแบบ Design Tasks ให้นักเรียนร่วมกันวางแผนและออกแบบโปสเตอร์งาน Celabrating Cinco de Mayo ซึ่งเป็นงานประเพณีของชาวเม็กซิโก โดยให้นักเรียนแบ่งกลุ่มทำงานให้สำเร็จตามกิจกรรมที่ครูกำหนดไว้ 4 กิจกรรม ครูเตรียมเว็บไซต์ไว้ให้แต่ละกลุ่มเข้าไปศึกษากิจกรรม เพื่อสร้างชิ้นงานของนักเรียน
2. กลุ่มสาระฯ ที่เหมาะนำไปประยุกต์ใช้ที่สุด
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และสามารถนำไปบูรณาการกับกลุ่ม
สาระการเรียนรู้ศิลปะ ในเรื่อง การออกแบบงานศิลปะ และการใช้ดนตรีประกอบเนื้อเพลง และท่าทาง
3. สื่อที่ครูต้องทำเพิ่ม
ไม่มี
4.ชิ้นงาน หรือ ผลงานหลัก ที่ผู้เรียนผลิตหรือทำออกมา
นักเรียนต้องมีสมุดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานประเพณีของชาวเม็กซิกันอย่างน้อย 7 หน้าที่มีทั้งรูปภาพ ข้อความ หัวข้อเรื่องที่เกี่ยวกับงานประเพณีของชาวเม็กซิกันสิ่งที่นักเรียนต้องทำเพิ่ม คือ ศึกษาจากเว็บไซต์ในแต่ละกิจกรรมที่ครูเตรียมไว้แล้ว
แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม กลุ่มที่1 ออกแบบรายการอาหาร สำหรับงานเลี้ยง กลุ่มที่ 2 ออกแบบเสื้อผ้า ดนตรี ออกแบบเกม/กิจกรรมที่
เกี่ยวข้องกับประเพณีของชาวเม็กซิกัน เครื่องดนตรีในขบวนพาเหรด กลุ่มที่3กลุ่มที่ 4 ออกแบบรูปแบบการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนแขกที่มาเที่ยว
5.เมนูหลักที่ใช้ เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง
เมนูหลักวางไว้ด้านบน มีส่วนประกอบ Introduction Task Process Evaluation Conclusion Credits Teacher Page ส่วนที่เพิ่มขึ้นมา คือ Credits และ Referenceที่มาของแหล่งข้อมูล

………………………………
Set 1 : Mud Cloth of Mali, Africa

1. Taskology
Taskology มีกิจกรรมแบบ Design Tasks ให้นักเรียนทำโครงงานจากการศึกษาประเพณีของชนเผ่า Mali และการออกแบบ Bogolanfini หรือ เรียกว่า mud cloth เป็นของตนเอง โดย ครูเตรียมบทเรียนเว็บเควสให้นักเรียนเข้าไปศึกษาและทำงานตาม ขั้นตอน/กิจกรรม จากเว็บไซต์ในบทเรียน เพื่อสร้างชิ้นงานของนักเรียน
2. กลุ่มสาระฯ ที่เหมาะนำไปประยุกต์ใช้ที่สุด
การประยุกต์เหมาะกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ บูรณาการกับสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าพื้นเมือง สาระภาษาไทย เกี่ยวกับการเขียนบทความ
3. สื่อที่ครูต้องทำเพิ่ม
นอกจากเว็บเควสเรื่อง Mud Cloth of Mali, Africa แล้ว ครูต้องเตรียม ตัวอย่าง Bogolanfini ของจริงไว้ด้วย และ เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ทำ Mud Cloth
4. ชิ้นงาน หรือ ผลงานหลัก ที่ผู้เรียนผลิตหรือทำออกมา
ชิ้นงานหลักของนักเรียนคือ 1. บทความ 5 ย่อหน้าเขียนจากสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับชนเผ่าดั้งเดิมของ Mali และการทำ mud cloth ของชนเผ่า Bamana 2. สร้างชิ้นงาน mud cloth ของตนเองให้เหมือนกับรูปแบบของชนเผ่า Bamana 3. รายงานโครงงานเกี่ยวกับชนเผ่าดั้งเดิมของ Mali และการทำ mud cloth Bamana 4.ตัวอย่าง mud cloth ในรูปแบบของ DVD ประกอบเสียงดนตรีพื้นเมืองของ
5. เมนูหลักที่ใช้ เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง
เมนูหลักที่ใช้วางไว้ด้านซ้ายมือของเพจ มี 2 ส่วนระหว่าง ส่วนของนักเรียน และส่วนของครูสามารถเชื่อมโยงกลับไปหน้าเว็บในส่วนของนักเรียนได้ส่วนของนักเรียนต่างจากของครู คือ มีเมนูหลัก Introduction, Task, Process, Evaluation, Conclusion, Credits และTeacher Page ในส่วน Teacher Page นี้จะเชื่อมโยงกับเมนูหลักต่างๆ คือ Introduction, Learners, Standards, Process, Resources, และ Student Page ที่เป็นส่วนที่ครูต้องวางแผนในการสอนจะบอกว่าครูวางแผนอย่างไร การกำหนดเวลาเท่าไรเพื่อให้นักเรียนทำชิ้นงานแต่ละขั้นตอนเสร็จ ควรศึกษาเว็บไซต์ อะไรบ้าง นักเรียนควรทำอย่างไร

…………………………………………..
Resources
http://faculty.tamu-commerce.edu/espinoza/projects/557-044/gunnels/wq.html
http://questgarden.com/38/19/2/061219141443/process.htm

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

สรุป WK3Group1


การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
ความหมาย
การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) หมายถึง การประเมินผู้เรียนด้านการแสดงออก กระบวนการเรียนรู้ และการแสดงความคิดเห็น โดยผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติงานด้วยตนเอง โดยใช้ทั้งองค์ความรู้และทักษะเข้าด้วยกัน ครูผู้สอนจะประเมินโดยการสังเกต บันทึก และรวบรวมข้อมูลจากผลงานหรือการปฏิบัติงานที่ผู้เรียนทำ เพื่อตัดสินความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน
คำนิยามลักษณะของการประเมินแบบทั่วไปกับการประเมินตามสภาพจริง คือ การแยกตามการให้คำจำกัดความที่แตกต่างกันของการประเมินตามสภาพจริงกับการประเมินแบบทั่วไปกับ การประเมินตามสภาพจริง มีหลายรูปแบบ เช่น Performance Assessment หรือ Performance-based Alternative Assessment , Direct Assessment รูปแบบต่างๆ เหล่านี้เป็นการประเมินตามสภาพจริง คือ ให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงความรู้ความสามารถให้เห็นด้วยการปฏิบัติ

ความเหมือนระหว่างการประเมินตามสภาพจริงกับการประเมินแบบทั่วไป
ความเหมือนระหว่างการประเมินตามสภาพจริงกับการประเมินแบบทั่วไป คือ เพื่อให้ผู้เรียนมีศักยภาพ มีทั้งความรู้และทักษะฝีมือตามเป้าหมายของโรงเรียน คือ พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน และเพื่อวัดความสำเร็จโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน

ความแตกต่างระหว่างการประเมินตามสภาพจริงกับการประเมินแบบทั่วไป
ความแตกต่างระหว่างการประเมินตามสภาพจริงกับการประเมินแบบทั่วไป คือ การประเมินโดยทั่วไป มักจะใช้แบบทดสอบความสามารถผู้เรียน เช่น แบบหลายตัวเลือก เติมคำลงในช่องว่าง ถูกผิด จับคู่ และแบบทดสอบอื่นๆ การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินแบบทั่วๆ ไป เป้าหมายของการประเมินคือ ต้องการให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง การประเมินแบบทั่วๆ ไปนั้น หลักสูตรเป็นตัวกำหนดการวัดผลการเรียน เนื้อหาสาระจะถูกนำมาพิจารณาก่อน จากนั้นจึงไปสู่หลักสูตรการศึกษา ต่อมารูปแบบการประเมินจะถูกสร้างขึ้นมาแล้วนำไปใช้ เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรนี้

การผสมผสานระหว่างการประเมินตามสภาพจริงกับการประเมินแบบทั่วไป
การประเมินตามสภาพจริงผสมกับการประเมินแบบทั่วไป ครูผู้สอนไม่จำเป็นต้องเลือกประเมินผู้เรียนแค่อย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างการประเมินตามสภาพจริงและการประเมินแบบทั่วไป ครูผู้สอนสามารถเลือกประเมินผู้เรียนรวมกันได้ตามความเหมาะสมของแต่ละกิจกรรม แต่การประเมินตามสภาพจริงจะคล้ายกับชีวิตจริงมากกว่า เพราะให้ผู้เรียนแสดงความรู้ความสามารถโดยการลงมือปฏิบัติเอง
ลักษณะของการประเมินตามสภาพจริง
การประเมินตามสภาพจริงเป็นการประเมินที่เน้นการปฏิบัติ การสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน และคุณภาพของผลงานที่ผู้เรียนสร้างขึ้นโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของสถานการณ์จริง

การประเมินตามสภาพจริงมี 5 ประเภท คือ
1. Performance Assessment (การประเมินจากการปฏิบัติ)
การประเมินจากการปฏิบัติเป็นการประเมินความสามารถของผู้เรียนในการใช้ความรู้ความคิด โดยให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
2. Short Investigations (การสืบสวนสั้นๆ)
การสืบสวนสั้นๆ เป็นการประเมินผู้เรียนด้านแนวคิดพื้นฐานและทักษะที่เริ่มต้นจากแรงจูงใจ
3. Open-Response Questions (คำถามปลายเปิด)
คำถามปลายเปิดเป็นการประเมินผู้เรียนด้านการสืบสวนสั้นๆ นำเสนอผู้เรียนด้วยแรงจูงใจและให้ผู้เรียนตอบคำถามที่เป็นลักษณะการเขียนสั้นๆหรือการตอบปากเปล่า
4. Portfolios (แฟ้มสะสมงาน)
แฟ้มสะสมงานเป็นการประเมินโดยให้ผู้เรียนนำผลงานที่ดีมาเสนอ และสะสมไว้ในแฟ้มสะสมงาน สอนให้ผู้เรียนประเมินตนเองและแก้ไขเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของ
5. Self-assessment (การประเมินตนเอง)
การประเมินตนเองเป็นการประเมินผู้เรียนด้านการมีส่วนร่วม กระบวนการ และผลงานของผู้เรียน คำถามที่ประเมินเป็นเครื่องมือขั้นพื้นฐานของการประเมินตนเอง

บทสรุปของการประเมินตามสภาพจริง
การประเมินตามสภาพจริงประสบความสำเร็จอย่างมาก เป็นการประเมินที่หลากหลายมีรูปแบบใช้ได้อย่างอิสระ ไม่จำกัดรูปแบบที่แน่นอน เป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นกระบวนการ และการปฏิบัติที่ให้ผู้เรียนใช้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและรู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และการบูรณาการความรู้ทุกด้านเข้าด้วยกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของครูผู้สอนต้องการประเมินผู้เรียนอย่างไร โดยมีการออกแบบให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ต้องการว่า เพื่ออะไร กับใคร อย่างไร ดังนั้นการประเมินที่หลากหลายมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันที่การออกแบบเพื่อนำไปใช้กับใคร ระดับความรู้ความสามารถ วิชาอะไร เพื่อจุดประสงค์อะไร และสิ่งสำคัญที่ทำให้การประเมินมีความชัดเจน มีมาตรฐานอยู่บนบรรทัดฐานเดียวกัน คือ การกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) หรือสร้างเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อประเมินผลจากผลงานของผู้เรียน

Resources

http://teachingtoday.glencoe.com/howtoarticles/alternative-assessment-primer />
http://www.ncrel.org/sdrs/areas/issues/methods/assment/as7purp.htm />
http://www.ncrel.org/sdrs/areas/issues/envrnmnt/stw/sw1lk8.htm
http://www.teachervision.fen.com/teaching-methods-and-management/educational-testing/4911.html />
http://jonathan.mueller.faculty.noctrl.edu/toolbox/whatisit.htm />

ศศิธร – นิตยา – เจริญศรี