วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

Wonderful WebQuests

นักการศึกษาหลายคน ให้ความหมาย WebQuest ไว้หลายความหมาย พอสรุปได้ว่า
WebQuest หมายถึง กิจกรรมการเรียนแบบสืบสวนสอบสวน เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนในการใช้เว็บไซต์ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ นักเรียนมีการติดต่อสื่อสารทำให้มีโอกาสทำความเข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ เน้นความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ข้อมูลผ่านแหล่งข้อมูลที่ได้จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ หรือที่สร้างขึ้นจากสื่อต่างๆ รวมทั้งจากเว็บไซต์ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือเชื่อมโยงการเรียนรู้ของนักเรียน
WebQuest จะเป็นลักษณะของกิจกรรมกลุ่ม การวิเคราะห์เนื้อหาในเชิงลึก สามารถรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่อยู่ห่างไกลผ่านทาง E-mail ที่สำคัญ WebQuest สามารถช่วยสร้างให้ผู้เรียนกลายเป็นนักวิจัย มากกว่าจะเป็นผู้ท่องเว็บไซต์
องค์ประกอบของเว็บเควสท์ พบว่ารูปแบบที่เหมือนกันมี 5 ส่วน คือ
1. บทนำ (Introduction)
- เป็นส่วนที่กำหนดขั้นตอน ข้อมูล ประเภทของงาน และความรู้พื้นฐานของนักเรียน
2.ขั้นภารกิจ (Task)
- เป็นส่วนที่สำคัญ จะบอกรายละเอียดในการทำงานตามกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้งานตามหัวข้อที่กำหนด ผลสำเร็จของเว็บเควสท์มีส่วนมาจากการเลือกหัวข้อที่ดี
3. กระบวนการ (Process)
- กระบวนการ การใช้คำถามที่กระตุ้น ให้นักเรียนเกิดความสนใจ สั้น เข้าใจง่าย ชัดแจนและมีแหล่งข้อมูล ได้จากสื่อที่มีอยู่จากแหล่งเรียนรู้ทั่วไป หรือ อินเตอร์เนต ควรเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ช่วยทำให้การสร้างเว็บเควสท์น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
4. การประเมินผล (Evaluation)
- เป็นส่วนที่กำหนดคุณภาพของนักเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด เน้นการประเมินที่หลากหลาย เป็นการประเมินตามสภาพจริง ที่มีมาตรฐานเดียวกัน
5. บทสรุป (Conclusion)
- เป็นการสรุปคำถามว่านักเรียนได้เรียนรู้อะไร เป็นการบอกประสบการณ์ของนักเรียน ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน และขยายความรู้ของนักเรียนเชื่อมโยงกับสิ่งอื่นได้
ส่วนที่พบว่าต่างกัน คือ ส่วนที่เพิ่มเติมในบางเว็บเควสท์ คือในส่วนของครูที่เพิ่มไว้ในส่วนสุดท้ายของเว็บเควสท์ การเพิ่มข้อมูลการจัดการชั้นเรียน ที่ครูต้องการให้มีในชั้นเรียน
การประยุกต์ใช้ทางการศึกษา
การใช้เว็บเควสท์สำหรับการจัดการเรียนการสอน ครูสามารถค้นหาจากเว็บมาใช้ได้ โดยเลือกเว็บเควสท์ทีเห็นว่าเหมาะสมนำมาปรับเปลี่ยนประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับงานสอนของครู
1.เลือกเว็บเควสท์ที่ดี สามารถนำมาปรับเปลี่ยนสร้างข้อมูลเป็นของตนเอง ทำให้น่าสนใจ
เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
2.เว็บเควสที่ค้นมาได้จะมีความแตกต่างกัน ครูต้องดึงจุดเด่นแต่ละเว็บเควสท์นำมาผสมผสานให้เข้ากันเพื่อนำมาใช้ เช่น การใช้ฉาก ข้อมูล รูบริค ของแต่ละเว็บเควสท์ เพื่อสร้างบทเรียนนั้นให้น่าสนใจ
3.ปรับเว็บเควสท์ให้เหมาะกับระดับอายุของผู้เรียนและตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้
4.ใช้ออกแบบเกี่ยวกับสถานที่ สามารถออกแบบเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับสิ่งที่เราต้องการได้ เช่นเว็บเควสท์เดิมกล่าวถึงชายหาดหรือภูเขา เราอาจจะออกแบบกล่าวถึงท้องถิ่นในวิชาภูมิศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงมากที่สุด
5.ครูอาจจะนำมาขยายขอบเขตการออกแบบให้เหมาะกับการเรียนการสอนในแต่ละสาระการเรียนรู้ ที่เป็นรูปแบบของตนเองได้

แหล่งอ้างอิง
http://webquest.sdsu.edu/about_webquests.html
http://webquest.org/index.php
http://www.teachersfirst.com/summer/webquest/quest-b.shtml
http://www.internet4classrooms.com/buildingblocks.htm
http://www.internet4classrooms.com/using_quest.htm
html:file://F\Adapting WebQuest.mht
http://webquest.org/index-creat.ph<

สมมาตร ทับทิมแก้ว
เจริญศรี กันยุบล
อุบลลักษณ์ ชาวงษ์

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552

Building Blocks of a WebQuest

การสร้างบล็อกสำหรับเว็บเควสท์ ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีรูปแบบที่ไม่ต่างกันนัก ประกอบด้วยบล็อกที่เป็นส่วนแนะนำนักเรียน ให้เกิดความสนใจ บล็อกที่เป็นงานที่นักเรียนต้องทำ บล็อกที่เป็น กระบวนการ แหล่งข้อมูลที่ใช้ค้นคว้าให้งานสำเร็จ บล็อกที่เป็น การประเมินผล บล็อกที่เป็นบทสรุป และบล็อกที่เป็นส่วนของครู การสร้างบล็อกแยกออกเป็นส่วน มีส่วนให้การสร้างเว็บเควสท์ประสบผลสำเร็จ
บล็อกแรก คือ บทนำ เป็นส่วนที่แนะนำนักเรียนให้รู้จัก และเกิดความสนใจ เว็บเควสท์ที่จะเรียน ควรเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์ที่นักเรียนมี และจุดมุ่งหมายในอนาคต ซึ่ง Tom March พูดถึงบทนำที่ทำให้เว็บเควสท์ประสบผลสำเร็จไว้ใน Tuskegee Tragedy บทนำควรดึงดูดความสนใจ มีความเพลิดเพลิน
บล็อกที่สอง เป็นการอธิบายว่างานที่นักเรียนต้องทำที่แสดงไว้ในส่วนสุดท้ายของแบบฝึกหัดนั้น อาจได้งานเป็นไฮเปอร์สเตอริโอ การนำเสนอผลงานแบบ power point ซึ่ง Joe Burkhardt พูดถึงบล็อดที่เป็นส่วนของงานไว้ ใน Sticks and Stones ว่าลักษณะของงานมีหลายแบบ มีทั้งแบบเชิญชวน แบบมีข้อตกลงร่วมกัน แบบผู้สื่อข่าว เราต้องเลือกให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท
บล็อกที่สาม กระบวนการเป็นกลยุทธ์ที่ครูต้องหาวิธีการว่าทำอย่างไรจะให้งานสำเร็จ ควบคุมให้นักเรียนทำตามหน้าที่ บทบาท และคิดเชื่อมโยงไปในงานที่ทำในเว็บเควสท์ เพื่อให้นักเรียนระดมความคิดทำงานจนประสบผลสำเร็จ บล็อกนี้ต้องมีคำอธิบายที่สั้น ชัดเจน เข้าใจง่าย ซึ่ง Cheryl Rondestvedt’s เขียนไว้ใน Ocean Pollution/Solution แสดงให้เห็นถึง กระบวนการที่ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมมากมาย แต่มีขั้นตอน รายละเอียด ที่ชัดเจน เข้าใจง่าย แหล่งข้อมูลแต่ก่อนนั้น แยกเป็นส่วนขึ้นไว้บนหน้าเว็บ เป็นส่วนที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ ต้องคัดเลือกให้เหมาะสมกับหัวข้อและความสนใจ แหล่งเรียนรู้ที่รวบรวมไว้มีไม่จำกัด เช่น จาก การประชุมผ่านวิดีโอ การประชุม หนังสือคู่มือ เทปบันทึกเสียง แผ่นดิสก์ การมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
บล็อกที่สี่ การประเมินผล เป็นรูปแบบใหม่ที่เพิ่มในเว็บเควสท์ การประเมินค่า ไม่สามารถวัดได้จากการทดสอบแบบปรนัย การใช้ Bloom’s Taxonomy เป็นรูปแบบการประเมินที่หลากหลาย เป็นการประเมินตามสภาพจริง ที่มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่ง Susan Steinbach ได้พูดถึงเครื่องมือในการประเมินไว้ได้ละเอียดชัดเจน ใน Farmers Farmers Everywhere
บล็อกที่ห้า บทสรุป ในเว็บเควสท์ส่วนนี้ แสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ การแสดงความคิดเห็น สิ่งที่นักเรียนได้รับและการเชื่อมโยงความรู้กับสิ่งอื่น บทสรุปที่ดี ควรใช้คำถามในการอภิปรายหรือสรุปบทเรียนสั้นๆ เช่น Tom March พูดถึงบทสรุปที่ดีไว้ใน Tuskegee Tragedy
บล็อกที่หก ส่วนของครู เป็นการเพิ่มข้อมูลการจัดการชั้นเรียน ที่ครูต้องการให้มีในชั้นเรียน เป็นประโยชน์ในการแนะนำ การวางแผนในบทเรียน ในส่วนนี้ มี บทนำ จุดประสงค์ เนื้อหา ระดับความสามารถ ข้อมูล แหล่งข้อมูล และการอ้างอิง การประเมิน และบทสรุป
http://www.internet4classrooms.com/buildingblocks.htm
เจริญศรี กันยุบล
Using a WebQuest in your Classroom


การใช้ เว็บเควสท์ในห้องเรียน
Dr.Bernie Dodge พูดถึงเว็บเควสท์ว่า เป็นบทเรียนที่มีพื้นฐานจากการค้นคว้าศึกษาและการทำงานร่วมกัน จากข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้จากอินเทอร์เนต เขาได้พูดถึงส่วนประกอบ 5 ส่วนในเวบเควสท์ว่า 1) มีบทนำเป็นส่วนที่บอกหรือแบ่งประเภทข้อมูลและกำหนดงานตามระดับความสามารถของนักเรียน 2) งาน เป็นการบอกรายละเอียดในการทำงานตามกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้งานตามหัวข้อที่กำหนด 3) กระบวนการ เป็นส่วนที่บอกขั้นตอนให้เข้าใจง่าย ชัดเจน อาจเชื่อมโยงเข้ากับอินเทอร์เนต 4) การประเมินผล ใช้เกณฑ์ในการประเมินหรือวัดความสามารถของนักเรียน 5) การสรุป เป็นการบอกประสบการณ์ของนักเรียน ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน
ยังมีรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถสร้างเว็บเควสท์ได้ เช่น จากโครงสร้างของ Building Blocks of WebQuset หรือ Template for Constructing your WebQuest
ถ้าเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับการออกแบบเว็บเควสท์ เราค้นหาได้จากอินเตอร์เนตและสร้างเป็นเว็บเควสท์ของเราได้ อาจดูตัวอย่าง WebQuest about WebQuests หรือ The ABC’s of Web Site Evaluation ของ Kathy Schrock เป็นเว็บเควสท์ที่ฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้
แหล่งข้อมูลที่รวบรวมเว็บเควสท์ที่เชื่อถือได้ในอินเตอร์เนต มีอีกมาก เช่น” การค้นหาเครื่องจากเว็บเควสท์” ของ Dr.Bernie Dodge , พัฒนาเว็บเควสท์ให้ยอดเยี่ยม” ของทอมมาร์ช , “วิธีค้นหาแหล่งข้อมูลเพื่อเว็บเควสท์ของคุณ “ส่วนที่ได้มาจากเว็บเควสท์ที่โรงเรียนทำขึ้น เช่น “เทคโนโลยีแห่งการเรียนรู้ที่อิลินอยล์” , “GECDSB แหล่งรวบรวมเว็บเควสท์ ” หรืออาจได้มาจากเว็บเควสท์ส่วนตัว เช่น “ชีวิตระหว่างสงคราม” “เสียงจากอดีต” “สงครามโลก” ฯลฯ
ในการเลือกหัวข้อ Dr.Bernie Dodge พูดถึง ผลสำเร็จของเว็บเควสท์มีส่วนมาจากการเลือกหัวข้อที่ดี การเลือกหัวข้อที่ไม่น่าสนใจ ถึงมีแหล่งข้อมูลมากมายแต่นักเรียนอาจได้เพียง 1 หรือ 2 เว็บเควสท์เท่านั้น การโต้แย้ง ถกเถียงหรืออภิปรายกันจะทำให้ได้เชื่อมโยงความคิดที่เกิดขึ้นจากการอภิปราย มีส่วนทำให้ได้หัวข้อเว็บเควสท์ที่น่าสนใจ
แหล่งข้อมูลที่มีขอบเขตในการค้นหาจากคนกลุ่มเดียวกัน ช่วยทำให้ค้นพบแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่ใช้ปรับปรุงเพื่อพัฒนาให้เว็บเควสท์ที่แตกต่างออกไป บุ๊คมาร์ค เป็นส่วนที่เก็บรวบรวมแหล่งข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าแล้วนำมาเก็บรวบรวมไว้ในที่บุ๊คมาร์ค เช่นตัวอย่าง rubric จาก “The Staff Room for Ontario’s Teacher “ ส่วนแหล่งข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ เช่น” Process Guides” เป็น เว็บเควสท์ที่มีกิจกรรมและออกแบบผลงานของนักเรียนไว้สำหรับนักเรียนใช้ Production’s Scaffolds พูดถึงกิจกรรมที่ใช้กับนักเรียน “Reception ScaffoldsW จะช่วยให้นักเรียนออกแบบและตกแต่งได้ตามรูปแบบที่รวบรวมไว้ “Instant WebQuest “เป็นเว็บเควสท์ที่สร้างขึ้นในเวลาสั้นๆ ไม่ต้องใช้ภาษา HTML
Dr.Bernie Dodge กล่าวว่า การเริ่มต้นทำเว็บเควสท์ที่ดีต้องปรับปรุงเว็บเควสท์ให้ต่างจากของคนอื่น เขาได้มีรูปแบบให้ศึกษาใน ไ Adapting and Enchancting Existing “ แต่ถ้าสร้างเว็บเควสท์จาก Document มีขั้นตอนการสร้าง 3 ขั้นตอน 1) เริ่มที่เมนู File แล้วเลือก Edit File เปิด Template 2) เลือก save as ที่เมนู File แล้วเปลี่ยนชื่อ Doccument แล้วลากไปวางไว้ที่ Desktop 3) แก้ไขที่Doccument แล้วเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บเควสท์ตัวเอง Dr.Bernie Dodge ได้กล่าวถึง การทำให้เว็บเควสท์น่าสนใจด้วยรูปแบบการเชื่อมโยงที่ดึงดูด น่าสนใจ มีรูปแบบเฉพาะของตัวเอง โดยให้เลือกข้อความตรง dialog box ให้เชื่อมโยงไปที่ URL ที่ต้องการ ก็สามารถเชื่อมโยงไปยังเป้าหมายที่ต้องการได้ สำหรับเว็บเควสท์ที่สร้างจากการเขียนด้วยภาษา HTML ต้องใช้ Browser จะมี 2 วิธีที่จะใช้เว็บเควสท์ในห้องเรียนได้ คือ 1) เปิดเมนู File เลือก Open เลือก Page Navigator จะพบ Bookmark ที่ง่ายสำหรับนักเรียนในการค้นหา 2) ติดต่อกับเว็บมาสเตอร์ เพื่อ upload เว็บเควสท์ให้นักเรียนได้ใช้ในห้องเรียน


จาก. http://www.internet4classrooms.com/using_quest.htm


Jareonsri Kanyubon