วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

What is a WebQuest ?

WebQuests คืออะไร
เว็บเควสท์ เป็นรูปแบบบทเรียนแบบสืบสวนสอบสวน ที่เรียนรู้จากข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญ และส่วนใหญ่เป็นการให้นักเรียนได้เรียนรู้จากเว็บ Bernie Dodge พัฒนารูปแบบการเรียนนี้ ที่ มลรัฐซานดิเอโก สหรัฐอเมริกา ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1995 Tom March ซึ่งเป็นคณะทำงานท้องถิ่นที่มลรัฐซานดิเอโก ได้มีส่วนร่วมในการนำมาใช้ ที่สมาคมฝึกหัดครู ในภาคเรียนฤดูร้อน
ตั้งแต่นั้นมา มีครูมากมายหลายล้านคนรวบรวมเว็บเควสท์จากอินเทอร์เนต ซึ่งมีวิธีการใช้มากมายที่เหมาะกับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 รูปแบบการสอนนี้แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะในบราซิล สเปน จีน ออสเตรเลีย และ ฮอล์แลนด์
เว็บเควสท์ ในรูปแบบของ ดร.อลิส คริสตี้ ประกอบด้วย บทนำ ซึ่งเป็นการพัฒนาหน่วยการเรียนหรือบทเรียนของนักเรียนที่มีการทำกิจกรรมร่วมกันตามหัวข้อในหลักสูตรให้นักเรียนมีความสนใจ ปฏิบัติได้ โดยครูเป็นผู้เตรียมแหล่งข้อมูลได้ตามที่ต้องการ เพื่อให้ได้งานที่สมบูรณ์ มีเกณฑ์สำหรับการวัดประเมินผลนักเรียนขณะเรียนตามที่ผู้เรียนเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในการเรียนจาก เว็บเควสท์ ทำให้เกิดประสิทธิภาพ เว็บเควสท์ เป็นแนวทางของกระบวนการเรียนเป็นขั้นตอน นักเรียนมีความสนใจที่ชัดเจนจากเทคโนโลยีชั้นสูง ดังนั้นครูผู้สอนคิดสร้างบทเรียนนี้ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนสร้างชิ้นงานที่เป็นไปได้ ข้อแตกต่างของ เว็บเควสท์นั้น ประกอบด้วย ข้อมูลที่สามารถตรวจสอบได้ มีคำ หัวข้อหรือเรื่อง ให้ศึกษา หรือสื่อสารระหว่างกัน การอภิปรายหัวข้อที่ได้จากการวิเคราะห์จากสถานการณ์ บทบาทสมมติจากออนไลน์ ไม่มีแหล่งข้อมูลที่ไม่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ นั่นหมายความว่าสามารถใช้เครื่องมือจากห้องสมุด และจากการสัมภาษณ์จากความคิดเห็นหรือการสำรวจ
เว็บเควสท์ เป็นการเรียนรู้ผ่านการสื่อสารหลากหลายวิธี จากแหล่งเรียนรู้มากมายทางอินเทอร์เน็ต Bernie Dodge จากมหาวิทยาลัยในมลรัฐซานดิเอโก มีเว็บเควสท์ 2 รูปแบบ คือแบบระยะสั้น เป็นการนำความรู้ที่ได้มารวบรวมให้สมบูรณ์ เป็นขัอมูลจำนวนมาก ทำให้เสร็จสมบูรณ์ได้ใน 3คาบ และ ระยะยาว เป็นการขยายความรู้ นักเรียนสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลและสาธิตว่านักเรียนเรียนรู้จากการสำรวจ อภิปราย หรือ การตอบสนอง ใช้เวลาทำให้เสร็จสมบูรณ์ได้ใน 1 – 4 สัปดาห์
องค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนเว็บเควสท์ เกี่ยวข้องกับ การพินิจพิเคราะห์ ไตร่ตรอง การร่วมมือ การมีส่วนร่วม ความเชี่ยวชาญ เช่น ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ เปิดใจกว้าง วัฒนธรรมที่หลากหลาย การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา ความมีวินัย จากหลักการของเว็บเควสท์เป็นการทำกิจกรรมร่วมกันของนักเรียน ผ่านกรับวนการและโครงสร้างที่ชี้แนะให้นักเรียนค้นพบผ่านการเรียนรู้ใหม่ๆ
เว็บเควสท์เป็นการเรียนที่ใช้ทักษะอย่างมีเหตุผล ไม่ได้เรียนรู้จาการท่องจำ การเรียนส่วนใหญ่นำไปใช้กับ การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นผลจากนำเว็บเควสท์มาใช้กับประสบการณ์เดิมอย่างหลากหลายวิธีโดยใช้แหล่งเรียนรู้จากข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การวิเคราะห์ การประเมินค่า และ การอนุมาน จากการได้รับข้อมูลทางอินเทอรเน็ต การคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้เว็บเควสท์ ทำให้ผู้เรียนสามารถระบุความเหมือนและแตกต่าง ระหว่างแหล่งเรียนรู้ทางอินเทอร์เน็ต การกำหนดค่าความน่าเชื่อถือจากการรวบรวมข้อมูล และการประเมินค่า การเข้าใจความสำคัญข้อมูล รวบรวมสังเคราะห์ การสรุปข้อมูล สมมติฐาน จากการสรุปจากชิ้นงานโดยเฉพาะ
การเรียนแบบรวมมือ องค์ประกอบสำคัญ ทีนักเรียนสามารถนำส่วนอื่นมาใช้เป็นของตนเองภายใต้การเรียนรู้ของพวกเขาโดยผ่านกระบวนการร่วมมือ การค้นคว้า ที่อำนวยความสะดวก ในขณะที่เรียนในสถานที่ต่างๆการเรียนรู้โดยร่วมมือกัน มีการสื่อสารระหว่างกัน มีการทำแบบฝึกหัด พัฒนาความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจสอบและพัฒนาความคิดที่ดีขึ้น อย่างเช่น การใช้เว็บเควสท์ในการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการฟัง การร่วมมือ การรับรองซึ่งกันและกัน การช่วยให้เกิดการยอมรับและเห็นความแตกต่างในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ซึ่งมีผลมาจากกระบวนการทำงานและความแตกต่างระหว่างบุคคล นับเป็นสิ่งที่ดีมากที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน
ในขณะที่กลุ่มเล็กๆ มีการทำงานร่วมกัน นักเรียนได้เรียนรู้ความคิดเห็นแต่ละคนที่มีผลต่อการใช้ภาษาของสมาชิกในกลุ่ม เมื่อทำกิจกรรมร่วมกันในเว็บเควสท์ นักเรียนจะเห็นความชัดเจนของเนื้อหาหรือจุดมุ่งหมาย จากความคิดที่หลากหลาย การเปิดใจยอมรับ นักเรียนเกิดความคุ้นเคยในวิธีการคิด สามารถเข้าใจในรายละเอียดสิ่งต่างๆ ที่แตกต่างจากตนเอง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมในเว็บเควสท์ ช่วยสนับสนุนให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ผลสะท้อนของเว็บเควสท์ที่มีมุมมองที่สำคัญ เมื่อนักเรียนแสดงออก พวกเขาสามารถวิเคราะห์ ประเมินความคิดของพวกเขาได้จากกระบวนการแก้ปัญหา แสดงถึงความระมัดระวัง ซึ่งความคิดนี้ช่้วยให้นักเรียนเกิดประสบการณ์ จุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญให้ได้ผลผลิตที่เกิดจากกระบวนการสร้างความรู้
เว็บเควสท์ได้พัฒนาวิธีดำเนินการให้มีการควบคุมตนเองเพื่อที่จะเรียนรู้ เมื่อนักเรียนมีการติดต่อ
สื่อสาร เนื้อหาในหลักสูตร ที่ปฏิบัติได้จริง ได้ประสบการณ์จริง สร้างความเข้าใจและเรียนรู้ได้มากกว่าเมื่อใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เว็บเควสท์จะเกิดผลทำให้มีการทำงานร่วมกัน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีใจกว้าง มีความหลากหลาย การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การจัดระเบียบการดำเนินงาน ความมีวินัยในตนเอง
ส่วนประกอบของเว็บเควสท์
_ บทนำ มี 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการปฐมนิเทศนักเรียน ความเป็นมา ส่วนที่สอง เป็นส่วนที่น่าสนใจจะแนะนำฉากและภูมิหลังข้อมูล
_ ชิ้นงาน งานในเว็บเควสท์ เป็นการบรรยายว่า นักเรียนต้องทำอะไรในแบบฝึกหัด ซึ่งเป็นผลงานจากกล้องวิดีโอดิจิทอล โปสการ์ด การนำเสนอแบบพาวเวอร์พอยต์ คำสั่ง ที่อธิบายถึงหัวข้อที่กำหนดที่จะทำให้ชิ้นงานน่าสนใจ
_ กระบวนการ ครูเป็นผู้แนะนำให้นักเรียนเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนว่าควรทำอย่างไรให้ได้งานที่สมบูรณ์ ต้องมีการแบ่งงานย่อย แบ่งบทบาทหน้าที่ให้เชื่อมโยงกับนักเรียนคนอื่น ครูใช้วิธีการแบ่งงานนักเรียน อธิบายบทบาทให้นักเรียนและทำอย่างไรเพื่อที่จะควบคุมให้นักเรียนได้ระดมสมองในการทำกิจกรรม
_ การประเมินผล ใช้ rubic เป็นเกณฑ์การประเมิน ในการเรียนรู้ใช้กับเทคนิคเกี่ยวกับการแบ่งประเภท ทางวิทยาศาสตร์ แต่เราไม่สามารถใช้วัดกับการทดสอบที่มีหลายตัวเลือก
_ การสรุป ได้มาซึ่งบทสุดท้ายของการสำรวจ ย้ำในสิ่งที่นักเรียนค้นพบ การมีส่วนร่วมตามความสนใจ เป็นโอกาสที่ดีที่ที่ให้นักเรียนสรุปรวบรวมประสบการณ์หรือเชื่อมโยงในสิ่งที่นักเรียนเรียนรู้เข้าด้วยกัน
_สิ่งได้รับ นักเรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ ที่มีประโยชน์จากเว็บเควสท์ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการร่วมมือ ในที่สุดนักเรียนก็จะแสดงให้เห็นถึงความมีเหตุผล และความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
_ ส่วนเพิ่มเติมอื่นๆ นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม มีขอบเขตการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างและแลกเปลี่ยนผลงานซึ่งกันและกัน
_ข้อสังเกตของครู ส่วนนี้ประกอบด้วยจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของเว็บเควสท์ ความสามารถในการจัดการ แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมในการวางแผน การใช้เครื่องมือในเว็บเควสท์ที่จัดไว้ให้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์



จาก http://www.alicechristie.org/edtech/wq/about.html

: Jareonsri Kanyubon

ไม่มีความคิดเห็น: