วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552

สรุปความรู้จาก Group Work 2

WebQuest นวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย
ความหมาย
นักการศึกษาหลายคน ให้ความหมาย WebQuest ไว้หลายความหมาย พอสรุปได้ว่า
WebQuest หมายถึง กิจกรรมการเรียนแบบสืบสวนสอบสวน เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนในการใช้เว็บไซต์ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ นักเรียนมีการติดต่อสื่อสารทำให้มีโอกาสทำความเข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ เน้นความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ข้อมูลผ่านแหล่งข้อมูลที่ได้จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ หรือที่สร้างขึ้นจากสื่อต่างๆ รวมทั้งจากเว็บไซต์ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือเชื่อมโยงการเรียนรู้ของนักเรียน
องค์ประกอบของเว็บเควสท์ พบว่ารูปแบบที่เหมือนกันมี 5 ส่วน คือ
1. บทนำ (Introduction)
- เป็นส่วนที่กำหนดขั้นตอน ข้อมูล ประเภทของงาน และความรู้พื้นฐานของนักเรียน เป็นส่วนที่สร้างความสนใจกระตุ้นให้นักเรียนในสิ่งที่จะเรียน
2.ขั้นภารกิจ (Task)
- เป็นส่วนที่สำคัญ จะบอกรายละเอียดในการทำงานตามกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้งานตามหัวข้อที่กำหนด ผลสำเร็จของเว็บเควสท์มีส่วนมาจากการเลือกหัวข้อที่ดี
3. กระบวนการ (Process)
- ควรคำนึงถึงกระบวนการที่จะทำ WebQuests ให้เสร็จสมบูรณ์ ใช้คำถามที่กระตุ้น ให้นักเรียนเกิดความสนใจ สั้น เข้าใจง่าย ชัดเจนและมีแหล่งข้อมูล ได้จากสื่อที่มีอยู่จากแหล่งเรียนรู้ทั่วไป หรือ อินเตอร์เนต ควรเลือกแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จะทำให้การสร้างเว็บเควสท์น่าสนใจมากยิ่งขึ้น แหล่งข้อมูลอาจแยกเป็นอีกหัวข้อออกจากกระบวนการก็ได้
4. การประเมินผล (Evaluation)
- เป็นส่วนที่กำหนดคุณภาพของนักเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด เน้นการประเมินที่หลากหลาย เป็นการประเมินตามสภาพจริง ที่มีมาตรฐานเดียวกัน ควรพิจารณาว่านักเรียนจะมีการวัดผลอย่างไร จะเป็นแบบ Contract, checklist หรือ rubric ฯลฯ
5. บทสรุป (Conclusion)
- เป็นการสรุปว่านักเรียนได้เรียนรู้อะไร มีการย้ำผู้เรียนให้ผู้เรียนได้เพิ่มเติมประสบการณ์ นักเรียนบอกประสบการณ์ ความรู้ ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน และขยายความรู้ของนักเรียนเชื่อมโยงกับสิ่งอื่นได้
ส่วนที่พบว่าต่างกัน คือ ส่วนที่เพิ่มเติมในบางเว็บเควสท์ คือในส่วนของครูที่เพิ่มไว้ในส่วนสุดท้ายของเว็บเควสท์ การเพิ่มข้อมูลการจัดการชั้นเรียน ที่ครูต้องการให้มีในชั้นเรียน
การประยุกต์ใช้ทางการศึกษา
การใช้เว็บเควสท์สำหรับการจัดการเรียนการสอน ครูสามารถค้นหาจากเว็บมาใช้ได้ โดยเลือกเว็บเควสท์ทีเห็นว่าเหมาะสมนำมาปรับเปลี่ยนประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับงานสอนของครู
1.เลือกเว็บเควสท์ที่ดี สามารถนำมาปรับเปลี่ยนสร้างข้อมูลเป็นของตนเอง ทำให้น่าสนใจ
เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
2.เว็บเควสที่ค้นมาได้จะมีความแตกต่างกัน ครูต้องดึงจุดเด่นแต่ละเว็บเควสท์นำมาผสมผสานให้เข้ากันเพื่อนำมาใช้ เช่น การใช้ฉาก ข้อมูล รูบริค ของแต่ละเว็บเควสท์ เพื่อสร้างบทเรียนนั้นให้น่าสนใจ
3.ปรับเว็บเควสท์ให้เหมาะกับระดับอายุของผู้เรียนและตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้
4.ใช้ออกแบบเกี่ยวกับสถานที่ สามารถออกแบบเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับสิ่งที่เราต้องการได้ เช่นเว็บเควสท์เดิมกล่าวถึงชายหาดหรือภูเขา เราอาจจะออกแบบกล่าวถึงท้องถิ่นในวิชาภูมิศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงมากที่สุด
5.ครูอาจจะนำมาขยายขอบเขตการออกแบบให้เหมาะกับการเรียนการสอนในแต่ละสาระการเรียนรู้ ที่เป็นรูปแบบของตนเองได้
Taskonomy
Taskonomy เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของ WebQuests เป็นงานหรือภารกิจ เป้าหมายที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ได้ตามผลการเรียนรู้ ซึ่งเป็นภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องดำเนินการตามกิจกรรมขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ได้คำตอบ ข้อมูลและ ความรู้ แบ่งได้เป็น 12 งาน คือ
1. Retelling Tasks
เป็นงานที่ผู้เรียนไปศึกษาจากแหล่งค้นคว้า ข้อมูล หรือเว็บไซต์ต่างๆ ย่อมสามารถสรุป จับใจความสำคัญจากเนื้อหาสาระได้บ้าง ผู้เรียนสามารถนำเสนอข้อสรุปต่างๆ ผ่าน PowerPoint HyperStudio presentations โปสเตอร์ รายงานหรือข้อสรุปสั้นๆ กิจกรรมแบบนี้ไม่มีถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน
2. Compilation Tasks
เป็นงานง่ายๆ ที่ผู้เรียนสามารถนำข้อมูล ความรู้ต่างๆ มาเรียบเรียงและจัดการใหม่ งานนี้เป็นงานที่นำความรู้ที่ได้ไปใช้จริง เป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้เรียนเอง แล้วจึงเผยแพร่ความรู้ที่ได้ออกไป
3. Mystery Tasks
เป็นงานที่หลายๆ คนชอบ มีลักษณะคล้ายกับนักสืบที่สืบประเด็นเรื่องราวหรือไขความลับต่างๆ การออกแบบงานนี้เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ ปัญหาที่ต้องการจะรู้ไม่ควรง่ายจนเกินไป งานแบบนี้เหมาะกับผู้เรียนในระดับประถมศึกษาและผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่
4. Journalistic Tasks
เป็นงานที่ค้นหาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นข้อเท็จจริง งานนี้ต้องการความรวดเร็วและความแม่นยำมาก วิธีการเขียนหรือนำเสนอรายงานออกมา เพื่อเผยแพร่ข้อมูลอย่างกว้างขวาง
5. Design Tasks
เป็นงานที่วางแผนหรือออกแบบ เพื่อให้เกิดผลงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
6. Creative Product Tasks
เป็นงานที่มีความชัดเจนในตัว ผู้เรียนเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ โดยใช้ความรู้จากแหล่งต่างๆ เป็นพื้นฐาน
7. Consensus Building Tasks
เป็นงานที่โต้เถียง แต่เป็นการโต้เถียงเพื่อประโยชน์เป็นเป้าหมายสูงสุด มีหลักการคือ ความแตกต่างจะช่วยฝึกแก้ปัญหาได้ ผู้ที่สร้างงานนี้จึงพยายามนำความคิดต่างกันให้มาลงรอยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนให้เกิดการฝึกฝนไปด้วย
8. Persuasion Tasks
เป็นงานที่มีแนวคิดว่า ความคิดย่อมมีการมองต่างมุม เพราะอาจจะมีเหตุผลที่ต่างกันออกไปแต่มันก็มีประโยชน์สำหรับการพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ โดยมีการเสนอในหลายรูปแบบ เช่นการเขียนจดหมาย วิดีโอ โปสเตอร์ เพื่อออกแบบการ โต้กันทางความคิดเพื่อพัฒนาความคิดต่อไป
9. Self- Knowledge Tasks
เป็นงานที่ปัจจุบันมีน้อย ซึ่งมีหลักการว่า ควรให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อจะได้นำไปพัฒนาตนเองต่อไป เป้าหมายขั้นสุดยอดของเว็บเควสไม่ใช่การทำให้ผู้เรียนต้องพึ่งพาการเรียนแบบเว็บเควสตลอดไป แต่เป็นการแก้ไขทีละส่วน ทีละเรื่อง และสุดท้ายสามารถเรียนรู้อยู่บนพื้นฐานการเรียนรู้ขั้นสูงได้ด้วยตนเอง
10. Analytical Tasks
เป็นงานที่มีลักษณะการเรียนรู้ที่มีการเรียนถึงความสำคัญของสิ่งต่างๆที่สัมพันธ์ต่อกัน ภายในหัวข้อเดียวกัน โดยการวิเคราะห์เหตุผล เพื่อพัฒนาความรู้ ค้นหาความเหมือนความต่าง ความเกี่ยวโยงกันและหาความหมายกันและกัน และมีการตั้งคำถามเพื่อสร้างภารกิจให้ผู้เรียนมีโอกาสค้นหาและนำความรู้มาประยุกต์กับเหตุการณ์ปัจจุบัน จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างมีตรรกะระหว่างหลักการต่างๆ อันเป็นการเพิ่มโอกาสการส่งถ่ายการเรียนรู้จากบริบทหนึ่งไปสู่อีกบริบทหนึ่ง ในขณะเดียวกันจะช่วยเอื้อให้เกิดการวางรากฐานความรู้ที่ดีขึ้น
11. Judgment Tasks
เป็นงานที่มีเกี่ยวกับการประเมิน ซึ่งการประเมินสิ่งใดจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ งานประเภทนี้จะเสนอข้อมูลโดยลำดับหัวข้อ เพื่อเรียนรู้ ซักถาม เพื่อจัดลำดับ หรือแจ้งผลของการตัดสินใจ
12. Scientific Tasks
เป็นงานที่ผู้เรียนต้องฝึกการรายงานผลในรูปแบบมาตรฐานตามการรายงานทางวิทยาศาสตร์ จะทำให้ทราบถึงกระบวนการทำงานทางวิทยาศาสตร์ และมีการช่วยตั้งสมมติฐานเพื่อเสริมความเข้าใจ พร้อมกับฝึกให้ผู้เรียนสามารถตั้งข้อสมมติฐานโดยใช้ความรู้ความเข้าใจในการที่จะเลือกข้อมูลทุกรูปแบบ
การออกแบบและจัดทำ WebQuests
การออกแบบ WebQuests
1. เลือกเรื่อง หรือหัวข้อที่ใช้สอนวิชาอะไร ต้องการให้เกิดอะไรกับนักเรียน นักเรียนเรียนแล้วได้อะไร ครูผู้สอนต้องเลือกหัวข้อให้เหมาะสมกับผลการเรียนรู้ที่ตั้งไว้ในโครงสร้างรายวิชาในหน่วยนั้นๆที่สำคัญครูผู้สอนต้องให้นักเรียนมีการเรียนรู้แบบ Inquiry-Based
2. ออกแบบ WebQuests ให้เหมาะสมกับ Task ครูเป็นผู้เลือก Task ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เน้น WebQuests ที่จะใช้ในการสอนต้องให้นักเรียนเกิดทักษะและความคิดรวบยอด ตามผลการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยที่ตั้งไว้
3. เลือกรูปแบบWebQuests ที่ใช้สอน ให้ตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้และหัวข้อที่จะสอน การเลือก WebQuests นั้นเลือกจาก WebQuests ที่มีและสร้างขึ้นสำหรับการเรียนรู้แต่ละเรื่อง เป็นWebQuests Template สำเร็จรูปมากมาย โดยเลือกให้เหมาะกับวิชาและเนื้อหาที่ใช้สอน หรือ WebQuests ที่ครูสร้างขึ้นเองสำหรับเนื้อหานั้นโดยเฉพาะ ซึ่งมีรูปแบบให้เลือกตามงานหรือกิจกรรมที่จัดให้นักเรียน มีอยู่อย่างหลากหลาย เช่น การเล่าเรื่อง การเปรียบเทียบ การสืบค้น การสำรวจหาข้อมูล ฯลฯ
4.สร้างเครื่องมือวัดผลใน WebQuests ดูว่าต้องช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพในมาตรฐาน และการวัดผลว่าผู้เรียนสามารถแสดงศักยภาพในระดับที่ต้องการ
5.พัฒนากระบวนใน WebQuest นักเรียนได้รับคำสั่ง หรือคำชี้แจงที่ชัดเจน เข้าใจง่าย เพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สิ่งที่ช่วยในการทำกิจกรรมนี้คือ การสร้างแหล่งเรียนรู้ การจัดทำข้อแนะนำสำหรับผู้เรีย
6.การรวบรวมส่วนประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น เพิ่ม Introduction และ conclusion ส่วนเพิ่มเติมของครู ใส่ graphics ต่างๆที่จะดึงดูดผู้เรียน เนื้อหาต่างๆที่เขียนขึ้นใน WebQuests คำศัพท์ที่ใช้ควรเหมาะสมสำหรับกลุ่มของผู้เรียน ระดับอายุของผู้เรียน
7. การประเมินผล เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการเรียนการสอน เพื่อประเมินว่าผู้เรียนได้อะไรหลังผ่านกระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับใด นักเรียนมีส่วนร่วมใน กระบวนการเรียนรู้ โดยพิจารณาตามวัตถุประสงค์ และ Rubrics ซึ่งเป็นเครื่องมือการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การประเมิน มีวิธีที่ให้คะแนนงานของนักเรียน Rubrics เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการประเมินเกณฑ์ที่ซับซ้อนและที่เป็นอัตนัย สามารถแสดงเหตุผลอันเหมาะสมในการประเมินหรือให้คะแนน เป็น การประเมินผล ที่ตรงมากที่สุด นักเรียนเองมีส่วนร่วมในการประเมิน
Rubrics สร้างได้หลายรูปแบบตามระดับของความซับซ้อน มีลักษณะ คือ มุ่งเน้นการวัดที่ระบุ วัตถุประสงค์ (ประสิทธิภาพพฤติกรรมหรือคุณภาพ) มีช่วงให้คะแนนประสิทธิภาพ และ มีมาตรฐาน
ลักษณะของWebQuests ที่ดี คือ 1) เชื่อมโยงทุกคนและทันสมัย 2) ดึงดูดใจ และมีข้อผิดพลาดน้อย 3) งานเป็นที่น่าสนใจและเพิ่มทักษะการคิดขั้นสูง 4) แนวทางการเรียนรู้ตรงกับมาตรฐาน 5) อ่านง่ายตรงกับระดับของนักเรียน

แหล่งข้อมูล
กลุ่มที่ 1 ความหมาย องค์ประกอบ การประยุกต์ใช้: อุบลลักษณ์ – เจริญศรี – สมมาตร (post 4 April 2009)
กลุ่มที่ 2 Taskonomy: รดามณี- ศศิธร (post 4 April 2009)
กลุ่มที่ 3 การออกแบบและจัดทำ WebQuests : วรางคณา – วันเพ็ญ – นิตยา (post 3 April 2009)

ไม่มีความคิดเห็น: