วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

WebQuest รูปแบบใหม่ ของ Tom March


Searching for China WebQuest

1. แต่ละกลุ่มพบความแตกต่างอะไรบ้าง ในแง่ของเมนูต่าง ๆ ที่มีให้ในเว็บเควสแบบใหม่เหล่านี้
 เมนูหลักต่างๆ มี รูปแบบเหมือนเว็บเควสทั่วไป แต่มีส่วนที่เพิ่มจากรูปแบบเดิม คือ Quest(ion)/Task Background , Individual Role , Feedbackและ Dictionary
2. ในแง่ของกิจกรรม แทนที่จะใช้แนวทางแบบTaskology เดิม จุดเน้นในการออกแบบกิจกรรม คืออะไร
 จุดเน้นในการออกแบบกิจกรรมในเว็บเควสรูปแบบใหม่ มี Quest(ion)/Task เพียง 1 คำถามเป็นคำถามปลายเปิด ที่นำไปสู่การเรียนรู้ โดยใช้ Individual Roles เป็นตัวกำหนดกิจกรรม มี Role และ Goal กำหนดบทบาท และจุดมุ่งหมาย ให้ทุกกลุ่มปฏิบัติตามสถานการณ์ เพื่อค้นหาคำตอบจากความรู้ มี Backgroup for Everyone ให้นักเรียนทราบบทบาทในฐานะเป็นทีมของผู้สำรวจหัวข้อต่างๆ มีการเชื่อมโยงกับแหล่งทรัพยากรสำคัญจำเป็นบนเว็บไซต์ ทำให้เว็บไซต์มีความหลากหลาย และมี Real Word Feedbackไว้ให้นักเรียนนำความรู้ที่เกิดจากเว็บเควสมาทดสอบกับความจริง โดยตรวจสอบแนวคิดและความรู้ได้จาก Real Word Feedbackโดย link ไปที่ chat , E-mail , กระดานบอร์ด หรือ หน่วยงานทางราชการที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ช่วยวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดและความรู้ของนักเรียน ช่วยเสริมความรู้ได้มากขึ้น ทำให้นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดกับความเป็นจริง มีRubric ไว้ประเมินผลงานนักเรียน
- กิจกรรมแบบไหน ที่พบในทุกตัวอย่าง ของ WebQuestรูปแบบใหม่
 กิจกรรมแบบ collaboratively การวิเคราะห์ข้อมูล การรับฟังความคิดซึ่งกันและกัน การสรุปข้อมูล การทำงานร่วมกัน ช่วยกันค้นหาคำตอบจากคำถามทีละส่วน และรวบรวมความรู้ที่ได้ สังเคราะห์ให้เป็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
- การถาม/ คำถาม ของครู เปลี่ยนไปจากแบบเดิมไหม อย่างไร
 การใช้คำถามปลายเปิดของครูจาก Individual Roles เพื่อสร้างความสนใจให้นักเรียน ค้นหาคำตอบให้สำเร็จ เริ่มจากให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มตามบทบาทจากคำถามที่ครูกำหนดไว้ใน Individual Roles ทุกกลุ่มทำตามบทบาท(Role)ที่ได้รับ โดยมีจุดมุ่งหมาย(Goal)ให้นักเรียนต้องค้นหาและนำความรู้มาตอบคำถาม เชื่อมโยงทุกคำตอบจากคำถามทั้งหมด รวบรวมให้เกิดความรู้ในหัวข้อนั้น
- มีความคาดหวังเกี่ยวกับผลงานของนักเรียน ที่เปลี่ยนไปจากเดิมไหม และมีมาจากแนวคิดอะไร
 นักเรียนมีการสังเคราะห์ความรู้เป็นรูปแบบการคิดของตนเอง ทำให้ผลงานนักเรียนเปลี่ยนไป แนวคิดนี้ได้มาจากกิจกรรมการนั่งร้านของ Scaffolder คือ กิจกรรมที่ช่วยนักเรียนพัฒนาความคิดที่ถูกต้องทีละส่วน นำนักเรียนเข้าสู่การแก้ปัญหา โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็นภารกิจทีละส่วน แยกส่วนให้แก้ปัญหา หาความรู้มาตอบคำถามทีละส่วนให้ครบทุกส่วน นักเรียนรวบรวมความรู้ทั้งหมดเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ได้
………………………………………………………

Resource Set2
:http://www.kn.pacbell.com/wired/China/ChinaQuest.html
เจริญศรี กันยุบล

ไม่มีความคิดเห็น: