วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

Wonderful WebQuests

นักการศึกษาหลายคน ให้ความหมาย WebQuest ไว้หลายความหมาย พอสรุปได้ว่า
WebQuest หมายถึง กิจกรรมการเรียนแบบสืบสวนสอบสวน เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนในการใช้เว็บไซต์ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ นักเรียนมีการติดต่อสื่อสารทำให้มีโอกาสทำความเข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ เน้นความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ข้อมูลผ่านแหล่งข้อมูลที่ได้จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ หรือที่สร้างขึ้นจากสื่อต่างๆ รวมทั้งจากเว็บไซต์ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือเชื่อมโยงการเรียนรู้ของนักเรียน
WebQuest จะเป็นลักษณะของกิจกรรมกลุ่ม การวิเคราะห์เนื้อหาในเชิงลึก สามารถรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่อยู่ห่างไกลผ่านทาง E-mail ที่สำคัญ WebQuest สามารถช่วยสร้างให้ผู้เรียนกลายเป็นนักวิจัย มากกว่าจะเป็นผู้ท่องเว็บไซต์
องค์ประกอบของเว็บเควสท์ พบว่ารูปแบบที่เหมือนกันมี 5 ส่วน คือ
1. บทนำ (Introduction)
- เป็นส่วนที่กำหนดขั้นตอน ข้อมูล ประเภทของงาน และความรู้พื้นฐานของนักเรียน
2.ขั้นภารกิจ (Task)
- เป็นส่วนที่สำคัญ จะบอกรายละเอียดในการทำงานตามกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้งานตามหัวข้อที่กำหนด ผลสำเร็จของเว็บเควสท์มีส่วนมาจากการเลือกหัวข้อที่ดี
3. กระบวนการ (Process)
- กระบวนการ การใช้คำถามที่กระตุ้น ให้นักเรียนเกิดความสนใจ สั้น เข้าใจง่าย ชัดแจนและมีแหล่งข้อมูล ได้จากสื่อที่มีอยู่จากแหล่งเรียนรู้ทั่วไป หรือ อินเตอร์เนต ควรเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ช่วยทำให้การสร้างเว็บเควสท์น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
4. การประเมินผล (Evaluation)
- เป็นส่วนที่กำหนดคุณภาพของนักเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด เน้นการประเมินที่หลากหลาย เป็นการประเมินตามสภาพจริง ที่มีมาตรฐานเดียวกัน
5. บทสรุป (Conclusion)
- เป็นการสรุปคำถามว่านักเรียนได้เรียนรู้อะไร เป็นการบอกประสบการณ์ของนักเรียน ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน และขยายความรู้ของนักเรียนเชื่อมโยงกับสิ่งอื่นได้
ส่วนที่พบว่าต่างกัน คือ ส่วนที่เพิ่มเติมในบางเว็บเควสท์ คือในส่วนของครูที่เพิ่มไว้ในส่วนสุดท้ายของเว็บเควสท์ การเพิ่มข้อมูลการจัดการชั้นเรียน ที่ครูต้องการให้มีในชั้นเรียน
การประยุกต์ใช้ทางการศึกษา
การใช้เว็บเควสท์สำหรับการจัดการเรียนการสอน ครูสามารถค้นหาจากเว็บมาใช้ได้ โดยเลือกเว็บเควสท์ทีเห็นว่าเหมาะสมนำมาปรับเปลี่ยนประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับงานสอนของครู
1.เลือกเว็บเควสท์ที่ดี สามารถนำมาปรับเปลี่ยนสร้างข้อมูลเป็นของตนเอง ทำให้น่าสนใจ
เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
2.เว็บเควสที่ค้นมาได้จะมีความแตกต่างกัน ครูต้องดึงจุดเด่นแต่ละเว็บเควสท์นำมาผสมผสานให้เข้ากันเพื่อนำมาใช้ เช่น การใช้ฉาก ข้อมูล รูบริค ของแต่ละเว็บเควสท์ เพื่อสร้างบทเรียนนั้นให้น่าสนใจ
3.ปรับเว็บเควสท์ให้เหมาะกับระดับอายุของผู้เรียนและตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้
4.ใช้ออกแบบเกี่ยวกับสถานที่ สามารถออกแบบเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับสิ่งที่เราต้องการได้ เช่นเว็บเควสท์เดิมกล่าวถึงชายหาดหรือภูเขา เราอาจจะออกแบบกล่าวถึงท้องถิ่นในวิชาภูมิศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงมากที่สุด
5.ครูอาจจะนำมาขยายขอบเขตการออกแบบให้เหมาะกับการเรียนการสอนในแต่ละสาระการเรียนรู้ ที่เป็นรูปแบบของตนเองได้

แหล่งอ้างอิง
http://webquest.sdsu.edu/about_webquests.html
http://webquest.org/index.php
http://www.teachersfirst.com/summer/webquest/quest-b.shtml
http://www.internet4classrooms.com/buildingblocks.htm
http://www.internet4classrooms.com/using_quest.htm
html:file://F\Adapting WebQuest.mht
http://webquest.org/index-creat.ph<

สมมาตร ทับทิมแก้ว
เจริญศรี กันยุบล
อุบลลักษณ์ ชาวงษ์

1 ความคิดเห็น:

Sasitorn กล่าวว่า...

Verb (คำกริยา)
1.ลงท้ายด้วย en, ize, ise, fy, ify
2.กริยาแท้สามารถเติม s, es, ing, ed ท้ายคำกริยานั้นได้
3.กริยาช่วยจะอยู่หน้ากริยาแท้ (v1) เสมอ เช่น will, shall, would, should, can, could, may, might (I can swim.)
4.กริยามี 2 ประเภท คือ
4.1 อกรรมกริยา (Intransitive verb) เป็นกริยาที่มีความสมบูรณ์ในตัวมันเอง
ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ เช่น smile, cry, run, sleep
4.2 สกรรมกริยา (Transitive verb) เป็นกริยาที่ยังไม่สมบูรณ์ต้องมีกรรมมารองรับจึงจะทำให้ประโยคสมบูรณ์ เช่น eat, write, buy, drink

Adjectives (คำคุณศัพท์)
เป็นคำที่อธิบายหรือขยาย noun หรือ pronoun ให้ได้รายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติของสิ่งนั้นๆ เพิ่มขึ้น เช่น new, ugly, ill, happy, afraid, careless
ตำแหน่งของ Adj. มี 2 ตำแหน่ง คือ
1.อยู่หน้าคำนาม เช่น He bought a new shirt. เขาซื้อเสื้อใหม่ (new ขยาย shirt ซึ่งเป็น noun)
2.อยู่หลัง verb to be (is, am, are, was, were, been) เช่น
They are happy. พวกเขามีความสุข (happy ขยาย they ซึ่งเป็น pronoun)
ลักษณะของ Adj.
1.ลงท้ายด้วย ish, y, ly, al, ous, ious, ary,en, like, ic, ical, less, ful ซึ่งเปลี่ยนรูปมาจาก noun เช่น cloud (n.)+y = cloudy , beauty (n.)+ful = beautiful
2.ลงท้ายด้วย ive, ent, ant, able, ible ซึ่งเปลี่ยนรูปมาจาก verb เช่น create (v.)+ive = creative, excel (v.)+ent = excellent

Noun (คำนาม)
เป็นคำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เช่น man, dog, table, Bangkok คำนามส่วนใหญ่จะตามหลัง Articles (a, an, the) เช่น a dog, an egg, the city
ลักษณะของ Noun
1.ลงท้ายด้วย al, ure, y, ment, ance, ence, ation, sion, er, or, ant, ent, ee ซึ่งเปลี่ยนรูปมาจาก verb เช่น consider(v.)+ation = consideration (n.)
2.ลงท้ายด้วย ness, ity, ism, dom ซึ่งเปลี่ยนรูปมาจาก adj. เช่น real (adj.)+ity = reality (n.)
3.ลงท้ายด้วย ist, ship ซึ่งเปลี่ยนรูปมาจาก noun เช่น friend (n.)+ship=friendship (n.)
*** หมายเหตุ Noun ที่ลงท้ายด้วย er, or, ant, ent, ee, ist ส่วนใหญ่เป็นคน เช่น teacher, advisor, accountant, student, trainee, artist

Adverb (คำกริยาวิเศษณ์)
เป็นคำที่ใช้ขยาย verb หรือ adjective หรือ adverb ด้วยกันเอง เช่น hard, fast, very
He works hard. เขาเป็นคนทำงานหนัก (hard ขยาย works ซึ่งเป็น verb)
He is very rich. เขาเป็นคนจนมาก (very ขยาย rich ซึ่งเป็น adjective)
He works very hard. เขาเป็นคนที่ทำงานหนักมาก (very ขยาย hard ซึ่งเป็น adverb)
ลักษณะของ Adv.
มาจาก adj.+ly เช่น noisy (adj.)+ly = noisily (adv.), slow (adj.)+ly = slowly (adv.)